Monday, June 10, 2013

Posted by GU On 8:13 AM
การกำจัดวัชพืช  

การกำจัดวัชพืชทำได้ 3 วิธีคือ

1. ใช้จอบถากหรือแทรกเตอร์ไถ วิธีนี้เกษตรกรนิยมใช้มากแต่มีข้อเสียคือจะกระทบกระเทือนต่อราก ทำให้ต้นยางชะงักการเจริญเติบโต
2. ใช้วิธีปลูกพืชคลุมดิน โดยนำเมล็ดพืชคลุมดินแต่ละชนิดมาผสมกันแล้วนำไปปลูกโดยใช้เมล็ดพืชคลุมดินในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ปลูกยาง 1 ไร่ ยกเว้นในท้องที่แห้งแล้งใช้อัตรา 1.5 กิโลกรัมต่อไร่

อัตราการผสมเมล็ดพืชคลุมดิน

ภาคใต้และภาคตะวันออก
- คาโลโปโกเนียม 2 ส่วน เซนโตรซีม่า 2 ส่วน เพอราเรีย 1 ส่วน
-  คาโลโปโกเนียม 5 ส่วน เซนโตรซีม่า 4 ส่วน เพอราเรีย 1 ส่วน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
-  คาโลโปโกเนียม 1 ส่วน  เพอราเรีย 1 ส่วน
โดยก่อนปลูกควรนำเมล็ดพืชคลุมดินไปแช่ในน้ำอุ่น (น้ำร้อน 2 ส่วนผสมกับน้ำเย็น 1 ส่วน) ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วเทน้ำทิ้ง ปล่อยให้เมล็ดแห้งพอหมาด จากนั้นนำเมล็ดไปคลุกกับปุ๋ยร้อคฟอสเฟตในปริมาณที่เท่ากันโดยน้ำหนัก แล้วจึงนำไปปลูกได้
- วิธีการปลูกพืชคลุมดิน ให้ใช้จอบขุดดินเป็นร่องลึกประมาณ 2-3 นิ้ว ให้เป็นแถว 3 แถว โดยให้แถวริมที่อยู่ชิดแถวยางอยู่ห่างจากแถวยางข้างละ 2 เมตร ส่วนแถวกลางให้อยู่ระหว่างกลางของแถวริมทั้งสอง นำเมล็ดพืชคลุมดินโรยลงในร่องแล้วเกลี่ยดินกลบเมล็ด
การปลูกพืชคลุมดินนี้จะลงมือปลูกพืชคลุมดินก่อนหรือจะปลูกพร้อมๆกับปลูกยาง หรือหลังปลูกยางแล้วก็ได้ แต่เพื่อความสะดวกและง่ายต่อการกำจัดวัชพืชควรปลูกพืชคลุมดินหลังจากได้เตรียมดินวางแนวและกะ ระยะปลูกยาง เสร็จเรียบร้อยแล้ว
หลังจากปลูกพืชคลุมดินจนกระทั่งเมล็ดงอกเป็นต้นกล้าเล็กๆแล้ว ควรดูแลกำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอจนกระทั่งพืชคลุมดินเริ่มทอดเถาเลื้อยไปคลุมดินจึงใส่ปุ๋ยร้อคฟอสเฟต ในอัตรา 6 กิโลกรัมต่อไร่เพื่อบำรุงพืชคลุมดิน

3. การใช้สารเคมี เป็นวิธีที่ให้ผลดี ประหยัดแรงงาน และเวลา นิยมใช้กับต้นยางที่มีอยายุ 1 ปีขึ้นไป หรือต้นยางที่มีเปลือกบริเวณโคนต้นเป็นสีน้ำตาลสูงจากพื้นดินมากกว่า 75 เซนติเมตรไปแล้ว ส่วนต้นยางที่มีเปลือกบริเวณโคนต้นเป็นสีน้ำตาลสูงจากพื้นดินน้อยกว่า 75 เซนติเมตรไม่ควรใช้วิธีนี้

การใช้สารเคมีกำจัดพืชสำหรับยางอ่อน 
การปลูกยางโดยใช้ต้นตอตาหรือยางชำถุง จะใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในแถวยางได้อย่างปลอดภัยต่อเมื่อต้นยางมีเปลือกสีน้ำตาลที่บริเวณ โคนต้นสูงจากพื้นดิน 75 เซนติเมตร
สารเคมีที่ใช้ในสวนยางอ่อนมีอยู่หลายสูตร แต่จะแนะนำเฉพาะบางสูตรที่หาได้ง่ายเช่น
สูตรที่ 1 ใช้พาราควอท 80 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ ระวังอย่าให้สารเคมีถูกใบหรือส่วนที่เป็นสีเขียวของต้น สูตรนี้จะเหมาะกับต้นยางที่มีอายุตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป สามารถคุมวัชพืชได้นาน 3-5 สัปดาห์โดยหลังจากพ่นสารเคมีแล้วยภายใน 2-3 ชั่วโมง จะต้องไม่มีฝนตก การใช้สารเคมีจึงจะได้ผลสมบูรณ์
สูตรที่ 2 ใช้ดาลาพอน 800 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ ฉีดพ่น และหลังจากนั้นอีก 21 วัน ให้พ่นซ้ำด้วยพาราควอท 40 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ อีกครั้งหนึ่ง สูตรนี้เหมาะกับต้นยางที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป โดยส่วนใหญ่จะใช้กำจัดวัชพืชพวกใบเลี้ยงเดี่ยว
สูตรที่ 3 ใช้พาราควอท 60 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) และ 2,4-ดี  150 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ สุตรนี้จะเหมาะกับต้นยางที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่จะใช้กำจัดวัชพืชพวกใบเลี้ยงคู่ รวมทั้งพืชคลุมที่เลื้อยเข้าไปพันต้นยาง
สูตรที่ 4 ใช้ไกลโฟเสท 205 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ สามารถกำจัดวัชพืชได้หลายชนิดโดยไม่มีพิษตกค้างในดิน สามารถคุมวัชพืชได้นาน 2 เดือน สูตรนี้เหมาะกับต้นยางที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป โดยหลังจากพ่นสารเคมีแล้วภายใน 6 ชั่วโมง จะต้องไม่มีฝนตก การใช้สารเคมีจึงจะได้ผลสมบูรณ์

การใช้สารเคมีกำจัดพืชสำหรับสวนยางที่กรีดแล้ว 
ใช้พาราควอท 80 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ โดยใช้หัวฉีดสีเหลือง

การกำจัดหญ้าคา 
การใช้สารเคมีกำจัดหญ้าคานับว่าเป็นวิธีที่ประหยัดค่าใช้จ่ายและได้ผลดีกว่าวิธีอื่นๆ โดยมีสูตรการใช้สารเคมีให้เลือก 3 สูตรคือ
สูตรที่ 1 ใช้ดาราพอน 1.6 กิโลกรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ โดยใช้หัวฉีดสีแดง หลังจากฉีดพ่นแล้ว 21 วัน ให้ใช้ดาลาพอนในอัตราเดิมฉีดพ่นซ้ำอีกครั้ง จากนั้นประมาณ 3-4 เดือน หากมีหญ้าคางอกหรือหลงเหลืออยู่ ควรฉีดพ่นสารเคมีอีกครั้งในอัตราเดิม
สูตรที่ 2 ถ้าต้นยางมีอายุตั้งแต่ 2 ปี ลงมาและมีหญ้าคาขึ้นบริเวณโคนต้น ให้ฉีดพ่นด้วยด้วยดาลาพอน 1.6 กิโลกรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ หลังจากฉีดพ่นแล้ว 21 วัน ให้ใช้พาราควอท 80 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ เพื่อลดอันตรายของต้นยางอ่อนซึ่งอาจเกิดขึ้นจากดาลาพอน
สูตรที่ 3 ใช้ไกลโฟเสท 410 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ฉีดพ่นเพียงครั้งเดียว
ข้อสังเกต การกำจัดหญ้าคาควรฉีดพ่นสารเคมีในช่วงที่หญ้าคากำลังเจริญเติบโต (ต้นฤดูฝน) จะได้ผลดีที่สุด การกำจัดหญ้าคาด้วยไกลโฟเสทให้ผลดีกว่าดาลาพอน ซึ่งดาลาพอนต้องพ่นถึง 2 ครั้ง แต่เมื่อเปรียบเทียบทางด้านค่าใช้จ่ายแล้วการใช้ดาลาพอนจะประหยัดกว่า
หมายเหตุ : เนื้อสารบริสุทธิ์ หมายถึง ปริมาณสารออกฤทธิ์ซึ่งจะต้องปรากฏในฉลากที่ภาชนะบรรจุเป็นภาษาไทยตามพระราชบัญญัติวัตถุมีพิษ พ.ศ. 2510 มาตรา 21
Posted by GU On 8:11 AM
การเตรียมพื้นที่ปลูกยาง 

http://naist.cpe.ku.ac.th/~vasu/arda/wp-content/global_images/rubber1.jpg

ในพื้นที่ที่เป็นสวนยางเก่า ป่า หรือมีไม้ยืนต้นอื่นขึ้นอยู่จะต้องโค่นไม้เหล่านั้นเสียก่อน การโค่นจะใช้วิธีตัดต้นไม้ให้เหลือตอสูง 40-50 เซนติเมตร แล้วทำลายตอไม้เหล่านั้นให้ผุสลายในภายหลัง โดยใช้สารเคมีไทรโคลเปอร์ หรือการ์ลอน 4 (ชื่อการค้า) ในอัตรา 5 ซี.ซี. ผสมน้ำ 95 ซี.ซี. ต่อตอ โดยทาก่อนหรือหลังตัดต้นไม้ 1-7 วันก็ได้  หรือจะใช้รถแทรกเตอร์ไถต้นไม้ออกจากแปลงให้หมดก็ได้เช่นกัน 
หลังจากโค่นต้นยางเก่า หรือต้นไม้อื่นๆ แล้วต้องเก็บไม้ใหญ่ออก จากนั้นเก็บเศษไม้รวมเป็นกองๆ เรียงเป็นแนวตามพื้นที่ ตากให้แห้ง ทำแนวกันไฟแล้วเผา หลังจากเผาเสร็จควรเก็บปรนที่ยังไหม้ไม่หมดรวมกันเผาอีกครั้ง

การเตรียมหลุมปลูก 
หลุมปลูกยางโดยทั่วไปจะมีขนาดกว้าง x ยาวxลึก เท่ากับ 50 x 50 x 50 เซนติเมตร การขุดหลุมปลูกควรแยกดินบนและดินล่างไว้คนละส่วน ตากดินทิ้งไว้ 10-15 วัน จากนั้นย่อยดินบนให้ร่วนแล้วผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟต อัตรา 170 กรัมต่อหลุม

การปลูกซ่อม 
หลังจากปลูกแล้วอาจมีต้นยางบางต้นตายไปเนื่องจากอากาศแห้งแล้ง ถูกโรคและแมลงทำลาย หรือต้นที่ปลูกไม่สมบูรณ์ จำเป็นต้องปลูกซ่อม ซึ่งควรทำให้เสร็จภายในช่วงฤดูฝน 
ต้นพันธุ์ที่เหมาะสำหรับปลูกซ่อม คือ ยางชำถุง เพราะจำทำให้ต้นยางที่ปลูกในแปลงมีขนาดไล่เลี่ยกัน ส่วนต้นยางที่มีอายุเกิน 1 ปี ไปแล้วไม่ควรปลูกซ่อม เพราะจะถูกบังร่มไม่สามารถเจริญเติบโตทันต้นอื่นได้

Posted by GU On 8:08 AM
พันธุ์ยางที่แนะนำสำหรับเกษตรกรทั่วไป

http://www.stock2morrow.com/attachment.php?attachmentid=161299&d=1369308101
 
สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้ออกคำแนะนำพันธุ์ยางปี 2536 สำหรับเกษตรกรทั่วไปไว้ดังนี้  
พันธุ์ยางชั้น 1 ได้แก่ ยางพันธุ์ดีแนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยไม่จำกัดพื้นที่ปลูก  
พันธุ์ยางชั้น 2 ได้แก่ ยางพันธุ์ดี แนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยจำกัดพื้นที่ปลูก ปลูกได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของพื้นที่ปลูกยางที่ถือครองแต่ละพันธุ์ควรปลูกไม่น้อยกว่า 7 ไร่  
พันธุ์ยางชั้น 3 ได้แก่ ยางพันธุ์ดี แนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยกำจัดพื้นที่ปลูก ปลูกได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของพื้นที่ปลูกยางที่ถือครองแต่ละพันธุ์ควรปลูกไม่น้อยกว่า 7 ไร่   พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูกในแหล่งปลูกยางเดิม (ภาคใต้และภาคตะวันออก)  
พันธุ์ยางชั้น 1 BPM 24, สงขลา 36 2/, RRIM 600, GT 1, PR 255, PR 261  
พันธุ์ยางชั้น 2 PB 217, RRIC 110, RRIC 100, PB 260, PB 255, PB 235  
พันธุ์ยางชั้น 3 KRS 251, PR 305, PR 302, RRIC 101, BPM 1, RRIM 712, KRS 250, KRS 226, KRS 225, KRS 218, PB 311, RRIC 121 
พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูกในแหล่งปลูกยางใหม่ (ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) 
พันธุ์ยางชั้น 1 RRIM 600, GT 1, สงขลา 36, BPM 24, PR 255  
พันธุ์ยางชั้น 2 PB 235, PB 260
Posted by GU On 8:06 AM
ลักษณะส่วนต่างๆ ของยางพารา  
ยางพาราเป็นพืชยืนต้นขนาดใหญ่ มีอายุยืนยาวหลายสิบปีเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ ซึ่งมีส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้  
 
ราก - เป็นระบบรากแก้ว  
ลำต้น - กลมตรง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ  
1. เนื้อไม้ ยางพาราจัดเป็นไม้เนื้ออ่อน เนื้อไม้มีสีขาวปนเหลืองอยู่ด้านในกลางลำต้น  
2. เยื่อเจริญ เป็นเยื่อบางๆอยู่โดยรอบเนื้อไม้มีหน้าที่สร้างความเจริญเติบโตให้กับต้นยาง  
3. เปลือกไม้ เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากเยื่อเจริญออกมาด้านนอกสุด ช่วยป้องกันอันตรายที่จะมากระทบต้นยาง เปลือกของต้นยางนี้มีความสำคัญต่อเกษตรกรชาวสวนยางมาก เนื่องจากท่อน้ำยางจะอยู่ในส่วนนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเปลือกด้านในที่ติดอยู่เยื่อเจริญจะมีท่อน้ำยางอยู่มากที่สุด 


ใบ - เป็นใบประกอบโดยทั่วไป 1 ก้านใบจะมีใบย่อย 3 ใบ มีหน้าที่หลักในการปรุงอาหารหายใจและคายน้ำ ใบยางจะแตกออกมาเป็นชั้น ๆ เรียกว่า "ฉัตร" ระยะเวลาเริ่มแตกฉัตรจนถึงใบในฉัตรนั้นแก่เต็มที่จะใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน ยางจะผลัดใบในฤดูแล้งของทุกปี ยกเว้นยางต้นเล็กที่ยังไม่แตกกิ่งก้านสาขาหรือมีอายุไม่ถึง 3 ปี จะไม่ผลัดใบ 


ดอก - มีลักษณะเป็นช่อมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในช่อดอกเดียวกัน ดอกยางทำหน้าที่ผสมพันธุ์โดยการผสมแบบเปิด ดอกยางจะออกตามปลายกิ่งของยางหลังจากที่ต้นยางผลัดใบ 


ผล - มีลักษณะเป็นพูโดยปกติจะมี 3 พู ในแต่ละพูจะม่เมล็ดอยู่ภายใน ผลอ่อนมีสีเขียวผลแก่มีสีน้ำตาลและแข็ง  


เมล็ด - มีสีน้ำตาลลายขาวคล้ายสีของเมล็ดละหุ่ง ยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร หนักประมาณ 3-6 กรัม เมล็ดยางเมื่อหล่นใหม่ๆจะมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูงมาก แต่เปอร์เซ็นต์ ความงอกนั้นจะลดลงอย่างรวดเร็วในสภาพปกติเมล็ดยางจะรักษาความ งอกไว้ได้ประมาณ 20 วันเท่านั้น  


น้ำยาง - เป็นของเหลวสีขาวถึงขาวปนเหลืองขุ่นข้น อยู่ในท่อน้ำยางซึ่งเรียงตัวกันอยู่ในเปลือกของต้นยาง ในน้ำยางจะมีส่วนประกอบหลักที่สำคัญ 2 ส่วนคือส่วนที่เป็น "เนื้อยาง" และส่วนที่ "ไม่ใช่ยาง" ตามปกติในน้ำยางจะมีเนื้อยางแห้งประมาณ 25-45 เปอร์เซ็นต์