Saturday, February 9, 2013

Posted by GU On 8:08 PM
โรคราสีชมพู (Pink disease)
 

สาเหตุ
                   เกิดจากเชื้อรา  Corticium  salmonicolor  Berk. & Br.
ลักษณะอาการ        เริ่มแรกเปลือกบริเวณคาคบ  กิ่งก้าน  ลำต้น  บริเวณที่ถูกทำลายจะเป็นรอยปริมีน้ำยางไหลติดอยู่ตามเปลือก  เมื่ออากาศชื้นจะเห็นเส้นใยสีขาวที่เปลือกยาง  แ
                           ผลจะขยายเป็นบริเวณกว้างออกไป  เมื่อเชื้อเจริญเต็มที่จะมองเห็นเป็นสีชมพู  ซึ่งเป็นระยะที่เชื้อเจริญเข้าไปในเปลือกและลุกลามไปยังลำต้น  ทำให้เปลือกแตก
                           และกะเทาะออก  น้ำยางไหลออกมาจับบตามกิ่งก้านและลำต้นเป็นทางเมื่อน้ำยางแห้งจะมีราดำเข้าจับเป็นทางสีดำ  ใต้บริเวณแผลจะมีการแตกกิ่งใหม่ขึ้นมากมาย
                          ใบยางเปลี่ยนเป็นสีเหลือง  เกิดอาการตายจากยอด  เมื่อสภาพแวดดล้อมไม่เหมาะสม  เชื้อราจะพักตัว  สีชมพูที่เคยปรากฏจะ  ซีดลงจนเป็นสีขาว 
                           เมื่อถึงฤดูฝนปีถัดไปจะเริ่มลุกลามต่อไป
การแพร่ระบาด
        ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศชุ่มชื้น  มีปริมาณน้ำฝนสูง  เมื่ออากาศแห้งเชื้อราจะพักตัวและเจริญลุกลามต่อในฤดูฝนปี ถัดไป  เชื้อแพร่กระจายโดยลมและฝน

พืชอาศัย
                กาแฟ  โกโก้  ชา  มะม่วง  ขนุน  ทุเรียน  เงาะ

การป้องกันกำจัด
      1. ตัดแต่งกิ่งก้านและกำจัดวัชพืชในสวนยางให้โล่งเตียน  เพื่อลดความชื้นและความรุนแรงของโรค
                            2. ไม่ควรปลูกพืชอาศัยเป็นพืชร่วมหรือพืชแซมยาง
                           
3. ต้นยางอายุน้อยถ้าเป็นโรครุนแรงถึงกิ่งแห้งตายและมีกิ่งใหม่งอกใต้รอยแผล  ควรตัดแต่งแห้งตายทิ้ง  โดยตัดให้ต่ำกว่า
                                รอยแผลประมาณ 
2-3  นิ้ว  แล้วทาด้วยสารเคมีเคลือบบาดแผล
                            
4. ต้นยางที่ยังไม่เปิดกรีด  เมื่อเป็นโรคแนะนำให้ใช้สารเคมีบอร์โดมิกซ์เจอร์ (bordeaux  mixture)  ที่มีอัตราส่วนผสมจุนสี
                                หนัก 
120  กรัม  ปูนขาวนัก  240  กรัม (ถ้าเป็นปูนเผาใหม่ใช้ประมาณ 150 กรัม)  ผสมน้ำ  10  ลิตรโดยผสมใหม่ๆ  ทา
                                บริเวณที่เป็นโรค  ไม่แนะนำให้ใช้กับต้นยางที่เปิดกรีดแล้ว  เนื่องจากสารทองแดงที่เป็นส่วนผสมของบอร์โดมิกซ์เจอร์
                                จะไหลลงไปผสมกับน้ำยางที่กรีดได้  ทำให้คุณภาพน้ำยางเสื่อมลง
                             
5. เมื่อตรวจพบต้นที่เป็นโรคให้ขูดเปลือกบริเวณเป็นแผลออกก่อนแล้วทาด้วยสารเคมี 
 
สารเคมี อัตราการใช้ วิธีการใช้
ชื่อสามัญ ชื่อการค้า % สารออกฤทธิ์
เบนโนมิล
(benomyl)
เอพรอน
 
50% WP
 
50-100 กรัมต่อน้ำ  1  ลิตร
 
ขูดเปลือกบริเวณรอยแผลออกแล้วทาสารเคมี

 
ไตรดีมอร์ฟ
(tridemorph)
คาลิกซิน
 
75% EC
 
60-120 กรัมต่อน้ำ  1  ลิตร
 

0 comments:

Post a Comment