Monday, June 10, 2013

Posted by GU On 8:13 AM
การกำจัดวัชพืช  

การกำจัดวัชพืชทำได้ 3 วิธีคือ

1. ใช้จอบถากหรือแทรกเตอร์ไถ วิธีนี้เกษตรกรนิยมใช้มากแต่มีข้อเสียคือจะกระทบกระเทือนต่อราก ทำให้ต้นยางชะงักการเจริญเติบโต
2. ใช้วิธีปลูกพืชคลุมดิน โดยนำเมล็ดพืชคลุมดินแต่ละชนิดมาผสมกันแล้วนำไปปลูกโดยใช้เมล็ดพืชคลุมดินในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ปลูกยาง 1 ไร่ ยกเว้นในท้องที่แห้งแล้งใช้อัตรา 1.5 กิโลกรัมต่อไร่

อัตราการผสมเมล็ดพืชคลุมดิน

ภาคใต้และภาคตะวันออก
- คาโลโปโกเนียม 2 ส่วน เซนโตรซีม่า 2 ส่วน เพอราเรีย 1 ส่วน
-  คาโลโปโกเนียม 5 ส่วน เซนโตรซีม่า 4 ส่วน เพอราเรีย 1 ส่วน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
-  คาโลโปโกเนียม 1 ส่วน  เพอราเรีย 1 ส่วน
โดยก่อนปลูกควรนำเมล็ดพืชคลุมดินไปแช่ในน้ำอุ่น (น้ำร้อน 2 ส่วนผสมกับน้ำเย็น 1 ส่วน) ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วเทน้ำทิ้ง ปล่อยให้เมล็ดแห้งพอหมาด จากนั้นนำเมล็ดไปคลุกกับปุ๋ยร้อคฟอสเฟตในปริมาณที่เท่ากันโดยน้ำหนัก แล้วจึงนำไปปลูกได้
- วิธีการปลูกพืชคลุมดิน ให้ใช้จอบขุดดินเป็นร่องลึกประมาณ 2-3 นิ้ว ให้เป็นแถว 3 แถว โดยให้แถวริมที่อยู่ชิดแถวยางอยู่ห่างจากแถวยางข้างละ 2 เมตร ส่วนแถวกลางให้อยู่ระหว่างกลางของแถวริมทั้งสอง นำเมล็ดพืชคลุมดินโรยลงในร่องแล้วเกลี่ยดินกลบเมล็ด
การปลูกพืชคลุมดินนี้จะลงมือปลูกพืชคลุมดินก่อนหรือจะปลูกพร้อมๆกับปลูกยาง หรือหลังปลูกยางแล้วก็ได้ แต่เพื่อความสะดวกและง่ายต่อการกำจัดวัชพืชควรปลูกพืชคลุมดินหลังจากได้เตรียมดินวางแนวและกะ ระยะปลูกยาง เสร็จเรียบร้อยแล้ว
หลังจากปลูกพืชคลุมดินจนกระทั่งเมล็ดงอกเป็นต้นกล้าเล็กๆแล้ว ควรดูแลกำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอจนกระทั่งพืชคลุมดินเริ่มทอดเถาเลื้อยไปคลุมดินจึงใส่ปุ๋ยร้อคฟอสเฟต ในอัตรา 6 กิโลกรัมต่อไร่เพื่อบำรุงพืชคลุมดิน

3. การใช้สารเคมี เป็นวิธีที่ให้ผลดี ประหยัดแรงงาน และเวลา นิยมใช้กับต้นยางที่มีอยายุ 1 ปีขึ้นไป หรือต้นยางที่มีเปลือกบริเวณโคนต้นเป็นสีน้ำตาลสูงจากพื้นดินมากกว่า 75 เซนติเมตรไปแล้ว ส่วนต้นยางที่มีเปลือกบริเวณโคนต้นเป็นสีน้ำตาลสูงจากพื้นดินน้อยกว่า 75 เซนติเมตรไม่ควรใช้วิธีนี้

การใช้สารเคมีกำจัดพืชสำหรับยางอ่อน 
การปลูกยางโดยใช้ต้นตอตาหรือยางชำถุง จะใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในแถวยางได้อย่างปลอดภัยต่อเมื่อต้นยางมีเปลือกสีน้ำตาลที่บริเวณ โคนต้นสูงจากพื้นดิน 75 เซนติเมตร
สารเคมีที่ใช้ในสวนยางอ่อนมีอยู่หลายสูตร แต่จะแนะนำเฉพาะบางสูตรที่หาได้ง่ายเช่น
สูตรที่ 1 ใช้พาราควอท 80 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ ระวังอย่าให้สารเคมีถูกใบหรือส่วนที่เป็นสีเขียวของต้น สูตรนี้จะเหมาะกับต้นยางที่มีอายุตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป สามารถคุมวัชพืชได้นาน 3-5 สัปดาห์โดยหลังจากพ่นสารเคมีแล้วยภายใน 2-3 ชั่วโมง จะต้องไม่มีฝนตก การใช้สารเคมีจึงจะได้ผลสมบูรณ์
สูตรที่ 2 ใช้ดาลาพอน 800 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ ฉีดพ่น และหลังจากนั้นอีก 21 วัน ให้พ่นซ้ำด้วยพาราควอท 40 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ อีกครั้งหนึ่ง สูตรนี้เหมาะกับต้นยางที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป โดยส่วนใหญ่จะใช้กำจัดวัชพืชพวกใบเลี้ยงเดี่ยว
สูตรที่ 3 ใช้พาราควอท 60 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) และ 2,4-ดี  150 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ สุตรนี้จะเหมาะกับต้นยางที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่จะใช้กำจัดวัชพืชพวกใบเลี้ยงคู่ รวมทั้งพืชคลุมที่เลื้อยเข้าไปพันต้นยาง
สูตรที่ 4 ใช้ไกลโฟเสท 205 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ สามารถกำจัดวัชพืชได้หลายชนิดโดยไม่มีพิษตกค้างในดิน สามารถคุมวัชพืชได้นาน 2 เดือน สูตรนี้เหมาะกับต้นยางที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป โดยหลังจากพ่นสารเคมีแล้วภายใน 6 ชั่วโมง จะต้องไม่มีฝนตก การใช้สารเคมีจึงจะได้ผลสมบูรณ์

การใช้สารเคมีกำจัดพืชสำหรับสวนยางที่กรีดแล้ว 
ใช้พาราควอท 80 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ โดยใช้หัวฉีดสีเหลือง

การกำจัดหญ้าคา 
การใช้สารเคมีกำจัดหญ้าคานับว่าเป็นวิธีที่ประหยัดค่าใช้จ่ายและได้ผลดีกว่าวิธีอื่นๆ โดยมีสูตรการใช้สารเคมีให้เลือก 3 สูตรคือ
สูตรที่ 1 ใช้ดาราพอน 1.6 กิโลกรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ โดยใช้หัวฉีดสีแดง หลังจากฉีดพ่นแล้ว 21 วัน ให้ใช้ดาลาพอนในอัตราเดิมฉีดพ่นซ้ำอีกครั้ง จากนั้นประมาณ 3-4 เดือน หากมีหญ้าคางอกหรือหลงเหลืออยู่ ควรฉีดพ่นสารเคมีอีกครั้งในอัตราเดิม
สูตรที่ 2 ถ้าต้นยางมีอายุตั้งแต่ 2 ปี ลงมาและมีหญ้าคาขึ้นบริเวณโคนต้น ให้ฉีดพ่นด้วยด้วยดาลาพอน 1.6 กิโลกรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ หลังจากฉีดพ่นแล้ว 21 วัน ให้ใช้พาราควอท 80 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ เพื่อลดอันตรายของต้นยางอ่อนซึ่งอาจเกิดขึ้นจากดาลาพอน
สูตรที่ 3 ใช้ไกลโฟเสท 410 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ฉีดพ่นเพียงครั้งเดียว
ข้อสังเกต การกำจัดหญ้าคาควรฉีดพ่นสารเคมีในช่วงที่หญ้าคากำลังเจริญเติบโต (ต้นฤดูฝน) จะได้ผลดีที่สุด การกำจัดหญ้าคาด้วยไกลโฟเสทให้ผลดีกว่าดาลาพอน ซึ่งดาลาพอนต้องพ่นถึง 2 ครั้ง แต่เมื่อเปรียบเทียบทางด้านค่าใช้จ่ายแล้วการใช้ดาลาพอนจะประหยัดกว่า
หมายเหตุ : เนื้อสารบริสุทธิ์ หมายถึง ปริมาณสารออกฤทธิ์ซึ่งจะต้องปรากฏในฉลากที่ภาชนะบรรจุเป็นภาษาไทยตามพระราชบัญญัติวัตถุมีพิษ พ.ศ. 2510 มาตรา 21
Posted by GU On 8:11 AM
การเตรียมพื้นที่ปลูกยาง 

http://naist.cpe.ku.ac.th/~vasu/arda/wp-content/global_images/rubber1.jpg

ในพื้นที่ที่เป็นสวนยางเก่า ป่า หรือมีไม้ยืนต้นอื่นขึ้นอยู่จะต้องโค่นไม้เหล่านั้นเสียก่อน การโค่นจะใช้วิธีตัดต้นไม้ให้เหลือตอสูง 40-50 เซนติเมตร แล้วทำลายตอไม้เหล่านั้นให้ผุสลายในภายหลัง โดยใช้สารเคมีไทรโคลเปอร์ หรือการ์ลอน 4 (ชื่อการค้า) ในอัตรา 5 ซี.ซี. ผสมน้ำ 95 ซี.ซี. ต่อตอ โดยทาก่อนหรือหลังตัดต้นไม้ 1-7 วันก็ได้  หรือจะใช้รถแทรกเตอร์ไถต้นไม้ออกจากแปลงให้หมดก็ได้เช่นกัน 
หลังจากโค่นต้นยางเก่า หรือต้นไม้อื่นๆ แล้วต้องเก็บไม้ใหญ่ออก จากนั้นเก็บเศษไม้รวมเป็นกองๆ เรียงเป็นแนวตามพื้นที่ ตากให้แห้ง ทำแนวกันไฟแล้วเผา หลังจากเผาเสร็จควรเก็บปรนที่ยังไหม้ไม่หมดรวมกันเผาอีกครั้ง

การเตรียมหลุมปลูก 
หลุมปลูกยางโดยทั่วไปจะมีขนาดกว้าง x ยาวxลึก เท่ากับ 50 x 50 x 50 เซนติเมตร การขุดหลุมปลูกควรแยกดินบนและดินล่างไว้คนละส่วน ตากดินทิ้งไว้ 10-15 วัน จากนั้นย่อยดินบนให้ร่วนแล้วผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟต อัตรา 170 กรัมต่อหลุม

การปลูกซ่อม 
หลังจากปลูกแล้วอาจมีต้นยางบางต้นตายไปเนื่องจากอากาศแห้งแล้ง ถูกโรคและแมลงทำลาย หรือต้นที่ปลูกไม่สมบูรณ์ จำเป็นต้องปลูกซ่อม ซึ่งควรทำให้เสร็จภายในช่วงฤดูฝน 
ต้นพันธุ์ที่เหมาะสำหรับปลูกซ่อม คือ ยางชำถุง เพราะจำทำให้ต้นยางที่ปลูกในแปลงมีขนาดไล่เลี่ยกัน ส่วนต้นยางที่มีอายุเกิน 1 ปี ไปแล้วไม่ควรปลูกซ่อม เพราะจะถูกบังร่มไม่สามารถเจริญเติบโตทันต้นอื่นได้

Posted by GU On 8:08 AM
พันธุ์ยางที่แนะนำสำหรับเกษตรกรทั่วไป

http://www.stock2morrow.com/attachment.php?attachmentid=161299&d=1369308101
 
สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้ออกคำแนะนำพันธุ์ยางปี 2536 สำหรับเกษตรกรทั่วไปไว้ดังนี้  
พันธุ์ยางชั้น 1 ได้แก่ ยางพันธุ์ดีแนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยไม่จำกัดพื้นที่ปลูก  
พันธุ์ยางชั้น 2 ได้แก่ ยางพันธุ์ดี แนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยจำกัดพื้นที่ปลูก ปลูกได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของพื้นที่ปลูกยางที่ถือครองแต่ละพันธุ์ควรปลูกไม่น้อยกว่า 7 ไร่  
พันธุ์ยางชั้น 3 ได้แก่ ยางพันธุ์ดี แนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยกำจัดพื้นที่ปลูก ปลูกได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของพื้นที่ปลูกยางที่ถือครองแต่ละพันธุ์ควรปลูกไม่น้อยกว่า 7 ไร่   พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูกในแหล่งปลูกยางเดิม (ภาคใต้และภาคตะวันออก)  
พันธุ์ยางชั้น 1 BPM 24, สงขลา 36 2/, RRIM 600, GT 1, PR 255, PR 261  
พันธุ์ยางชั้น 2 PB 217, RRIC 110, RRIC 100, PB 260, PB 255, PB 235  
พันธุ์ยางชั้น 3 KRS 251, PR 305, PR 302, RRIC 101, BPM 1, RRIM 712, KRS 250, KRS 226, KRS 225, KRS 218, PB 311, RRIC 121 
พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูกในแหล่งปลูกยางใหม่ (ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) 
พันธุ์ยางชั้น 1 RRIM 600, GT 1, สงขลา 36, BPM 24, PR 255  
พันธุ์ยางชั้น 2 PB 235, PB 260
Posted by GU On 8:06 AM
ลักษณะส่วนต่างๆ ของยางพารา  
ยางพาราเป็นพืชยืนต้นขนาดใหญ่ มีอายุยืนยาวหลายสิบปีเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ ซึ่งมีส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้  
 
ราก - เป็นระบบรากแก้ว  
ลำต้น - กลมตรง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ  
1. เนื้อไม้ ยางพาราจัดเป็นไม้เนื้ออ่อน เนื้อไม้มีสีขาวปนเหลืองอยู่ด้านในกลางลำต้น  
2. เยื่อเจริญ เป็นเยื่อบางๆอยู่โดยรอบเนื้อไม้มีหน้าที่สร้างความเจริญเติบโตให้กับต้นยาง  
3. เปลือกไม้ เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากเยื่อเจริญออกมาด้านนอกสุด ช่วยป้องกันอันตรายที่จะมากระทบต้นยาง เปลือกของต้นยางนี้มีความสำคัญต่อเกษตรกรชาวสวนยางมาก เนื่องจากท่อน้ำยางจะอยู่ในส่วนนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเปลือกด้านในที่ติดอยู่เยื่อเจริญจะมีท่อน้ำยางอยู่มากที่สุด 


ใบ - เป็นใบประกอบโดยทั่วไป 1 ก้านใบจะมีใบย่อย 3 ใบ มีหน้าที่หลักในการปรุงอาหารหายใจและคายน้ำ ใบยางจะแตกออกมาเป็นชั้น ๆ เรียกว่า "ฉัตร" ระยะเวลาเริ่มแตกฉัตรจนถึงใบในฉัตรนั้นแก่เต็มที่จะใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน ยางจะผลัดใบในฤดูแล้งของทุกปี ยกเว้นยางต้นเล็กที่ยังไม่แตกกิ่งก้านสาขาหรือมีอายุไม่ถึง 3 ปี จะไม่ผลัดใบ 


ดอก - มีลักษณะเป็นช่อมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในช่อดอกเดียวกัน ดอกยางทำหน้าที่ผสมพันธุ์โดยการผสมแบบเปิด ดอกยางจะออกตามปลายกิ่งของยางหลังจากที่ต้นยางผลัดใบ 


ผล - มีลักษณะเป็นพูโดยปกติจะมี 3 พู ในแต่ละพูจะม่เมล็ดอยู่ภายใน ผลอ่อนมีสีเขียวผลแก่มีสีน้ำตาลและแข็ง  


เมล็ด - มีสีน้ำตาลลายขาวคล้ายสีของเมล็ดละหุ่ง ยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร หนักประมาณ 3-6 กรัม เมล็ดยางเมื่อหล่นใหม่ๆจะมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูงมาก แต่เปอร์เซ็นต์ ความงอกนั้นจะลดลงอย่างรวดเร็วในสภาพปกติเมล็ดยางจะรักษาความ งอกไว้ได้ประมาณ 20 วันเท่านั้น  


น้ำยาง - เป็นของเหลวสีขาวถึงขาวปนเหลืองขุ่นข้น อยู่ในท่อน้ำยางซึ่งเรียงตัวกันอยู่ในเปลือกของต้นยาง ในน้ำยางจะมีส่วนประกอบหลักที่สำคัญ 2 ส่วนคือส่วนที่เป็น "เนื้อยาง" และส่วนที่ "ไม่ใช่ยาง" ตามปกติในน้ำยางจะมีเนื้อยางแห้งประมาณ 25-45 เปอร์เซ็นต์ 

Saturday, February 9, 2013

Posted by GU On 8:12 PM
โรคราแป้ง (Powdery mildew)
 

สาเหตุ
                เกิดจากเชื้อรา
ลักษณะอาการ      ใบอ่อนร่วง ใบที่ไม่ร่วง แผ่นใบจะมีแผลขนาดไม่แน่นอนมีปุย เชื้อราสีขาวเทาปกคลุมอยู่ ต่อมาแผลจะเป็นรอยด่าง สีเหลืองซีดและกลายเป็นสีน้ำตาล
                          ดอกยางมีปุย เชื้อราปกคลุมก่อนที่จะดำ แล้วร่วง
การแพร่ระบาด       ระบาดมากในพื้นที่ที่สภาพแวดล้อมกลางวันร้อน กลางคืนเย็นและชื้น ตอนเช้ามีหมอก พบในช่วงที่ต้นยางผลิใบใหม่
การป้องกันกำจัด    ปลูกยางพันธุ์ต้านทานโรค หากระบาดฉีดพ่นด้วยสารเคมี
 
สารเคมี อัตราการใช้ วิธีการใช้
ชื่อสามัญ ชื่อการค้า %สารออกฤทธิ์
เบโนมิล
(benomyl)
เบนเลท
ฟันดาโซล
50% WP
50% WP
20 กรัมต่อ
น้ำ
20 ลิตร
พ่นบนใบยางอ่อนทุกสัปดาห์ในช่วงที่เริ่มพบโรค
คาร์เบนดาซิม
(carbendazim)
คาร์เบนดาซิม
 
50% WP
 
ซัลเฟอร์
(sulfur)
ซัลเฟอร์
 
80% WP
 
ไตรดีมอร์ฟ
(tridemorph)
คาลิกซิน
 
75% EC
 
10 ซี.ซี.ต่อ
น้ำ 
20  ลิตร
กำมะถันผง
 
กำมะถันผง
 
100%
 
1.5-4  กก.ต่อไร่ พ่นใบยางอ่อนในช่วงเช้าตรู่  เพื่อหลีกเลี่ยงลมและอาศัยประโยชน์จากน้ำค้าง

Posted by GU On 8:12 PM
โรคใบจุดนูน (Colletotrichum leaf spot)
 

สาเหตุ
                เกิดจากเชื้อรา  Colletotrichum  gloeosporiodes  (Penz.) Sacc.
ลักษณะอาการ 
   ใบอ่อนที่ถูกเชื้อเข้าทำลาย  ปลายใบจะบิดงอ  เหี่ยวเน่าดำและหลุดล่วง  ในระยะใบเพสลาด  ใบบางส่วนอาจบิดงอและ  พบจุดแผลสีน้ำตาล  ขอบแผลสีเหลือง 
                         ขนาดประมาณ 1-2  มม.  เมื่อใบมีอายุมากขึ้น  เนื้อตรงกลางแผลอาจทะลุเป็นรู  ถ้าระบาดรุนแรงอาจพบแผลบนกิ่งอ่อนหรือยอดอ่อน 
                         และทำให้เกิดอาการตายจากยอดได้
การแพร่ระบาด      ระบาดรุนแรงกับยางที่แตกใบอ่อน  ในช่วงที่ฝนตกชุก  ความชื้นสูง  เชื้อแพร่ระบาดโดยน้ำฝน  ลมและแมลง
พืชอาศัย             ส้ม  กล้วย  มะละกอ  ชา  กาแฟ  โกโก้  อาโวกาโด
การป้องกัน          ต้นยางที่มีอายุน้อยกว่า  2  ปี  ใช้สารเคมีพ่นบนใบยางเมื่อเริ่มพบการระบาด
 
สารเคมี อัตราการใช้ วิธีการใช้
ชื่อสามัญ ชื่อการค้า %สารออกฤทธิ์
ไซเนบ
(Zineb)
ไซเนบ
 
80% WP
 
40  กรัมต่อน้ำ  20  ลิตร ฉีดพ่นใบยางอ่อน
ทุก  5  วัน
ประมาณ  5-6  ครั้ง
คลอโรธาโลนิล
(chlorothalonil)
ดาโคนิล
 
75% WP
 
เบโนมิล
(benomyl)
เบนเลท
 
50% WP
 
โพรพิเนบ
(propinep)
แอนทราโคล
 
75% WP
 

Posted by GU On 8:11 PM
โรคใบจุดก้างปลา (Corynespora leaf )
 

สาเหตุ
                เกิดจากเชื้อรา  Corynespora  cassiicola (Burk. & Curt.) Wei.
ลักษณะอาการ 
   ใบอ่อนแสดงอาการเป็นแผลจุดกลม  ขอบแผลสีน้ำตาลดำ  กลางแผลสีซีดหรือเทา  ถ้ารุนแรงใบจะบิดงอและร่วง  ระยะใบ  เพสลาดแผลจะกลมทึบสีน้ำตาลหรือดำ 
                        ขอบแผลสีเหลืองและขยายลุกลามเข้าไปตามเส้นใบ  ทำให้แผลมีลักษณะคล้ายก้างปลา  เนื้อเยื่อบริเวณรอยแผลมีสีเหลืองถึงน้ำตาลและใบร่วงในที่สุด 
                        ถ้าเชื้อเข้าทำลายส่วนของก้านใบ  กิ่งแขนงและลำต้นที่ เป็นสีเขียว  จะเป็นแผลสีดำมีลักษณะยาวรี  เนื้อเยื่อตรงกลางแผลบุ๋มลง  ถ้าอากาศเหมาะสมจะขยายขนาดและ
                        ลุกลาม  ทำให้กิ่งหรือยอดที่เป็นโรคแห้งตาย
การแพร่ระบาด
     เชื้อราแพร่ระบาดโดยลมและฝน  โรคระบาดรุนแรงในสภาพอากาศร้อนและมีความชื้นสูง
พืชอาศัย
            มีมากกว่า  80  ชนิด  ยกตัวอย่างเช่น  งา  ถั่วเหลือง  ถั่วเขียว  ฝ้าย  ยาสูบ  มะละกอ  แตงโม  มะเขือเทศ  ผักกาดหอม  สะระแหน่  ฟักเขียว  หญ้ายาง 
                        และพืชคลุมตระกูลถั่ว
การป้องกันกำจัด
  1. ไม่ควรปลูกพืชอาศัยของเชื้อราเป็นพืชแซมยาง
                        2. ต้นยางที่มีอายุน้อยกว่า  2  ปี  ใช้สารเคมีพ่นพุ่มใบเมื่อเริ่มพบอาการของโรค
 
สารเคมี อัตราการใช้ วิธีการใช้
ชื่อสามัญ ชื่อการค้า %สารออกฤทธิ์
ไตรดีมอร์ฟ
(tridemorph)
คาลิกซิน
 
75% EC
 
10 ซี.ซี.ต่อน้ำ  20  ลิตร ฉีดพ่นพุ่มใบยางอ่อน
ทุก  7  วัน
เบโนมิล
(benomyl)
เบนเลท
 
50% WP
 
40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

Posted by GU On 8:11 PM
โรคใบจุดตานก (Bird's eye spot)
 

สาเหตุ
                  เกิดจากเชื้อรา Drechsiera (Helminthosporium) heveae (Petch)  M.B. Ellis
ลั
กษณะอาการ 
     เชื้อเข้าทำลายระยะใบอ่อนมาก  แผลหงิกงอเน่าดำและร่วง  เหลือแต่ยอดที่บวมโต  ใบยางอายุมากจะปรากฏจุดค่อน ข้างกลม 
                          ขอบแผลสีน้ำตาลล้อมรอบซึ่งโปร่งแสง  ถ้าเชื้อเข้าทำลายระยะใบแก่จะเป็นรอยจุดสีน้ำตาลเท่านั้น
การแพร่ระบาด
       ระบาดรุนแรงในแปลงกล้ายางที่ปลูกในดินทรายหรือดินที่อุดมสมบูรณ์ต่ำ  แพร่ระบาดโดยลม  ฝนหรือการสัมผัสโรค
การป้องกันกำจัด
    1. หลีกเลี่ยงการปลูกต้นกล้ายางในดินทราย
                          2. ใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกปรับสภาพดินให้อุ้มน้ำได้
                          3. ใช้สารเคมีพ่นใบยางเมื่อพบอาการของโรค
 
สารเคมี อัตราการใช้ วิธีการใช้
ชื่อสามัญ ชื่อการค้า %สารออกฤทธิ์
แมนโคเซบ
(mancozeb)
แมนโคเซบ
ไดเทนเอ็ม 45
75% WP
80% WP
48 กรัมต่อน้ำ  20  ลิตร พ่นใบยางอ่อนทุก  7  วัน
โปรพิเนบ
(propineb)
แอนทราโคล
 
75% WP
 
คลอโรธาโลนิล
(chlorothalonil)
ดาโคนิล
 
75% WP
 


Posted by GU On 8:10 PM
โรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทร่า (Phytopthora leaf fall)
 

สาเหตุ
                เกิดจากเชื้อรา  Phytophthora  botryosa  chee, P. palmivora (Butl.) Butl., P.nicotianae  Van  Breda  de  Haan  var. parasitica(Dastur) Waterhouse
ลักษณะอาการ 
   ก้านใบเป็นรอยช้ำสีน้ำตาลเข้มถึงดำตามความยาวของก้านใบ  แผลบริเวณทางเข้าของเชื้อมีหยดน้ำยางเล็กๆ เกาะติดอยู่ เมื่อสะบัดใบเบาๆ ใบย่อยจะหลุดทันที 
                        ต่างจากการร่วงตามธรรมชาติ  ซึ่งเมื่อสะบัดใบย่อยจะไม่ร่วง  บางครั้งแผ่นใบอาจ  เป็นแผลสีน้ำตาลเข้มถึงดำ  ช้ำน้ำ  ขนาดแผลไม่แน่นอน 
                        หากเข้าทำลายฝักยางจะทำให้เน่า  อาจพบเชื้อราสีขาวเจริญปกคลุม  ฝักไม่แตกและไม่ร่วงหล่นตามธรรมชาติ  กลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อต่อไป
การแพร่ระบาด
     ระบาดรุโดยน้ำฝน  ลม  ความรุนแรงขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนและจำนวนวันฝนตก  เชื้อต้องการน้ำเพื่อการขยายพันธุ์  จึงระบาดได้ดีในสภาพอากาศเย็น  ฝนตกชุก 
                        ความชื้นสูงอย่างน้อย  4  วัน  โดยมีแสงแดดน้อยกว่า  3  ชั่วโมงต่อวัน
พืชอาศัย
            ส้ม  ทุเรียน  พริกไทย  ปาล์ม  โกโก้
การป้องกัน
         1. ไม่ควรปลูกพืชอาศัยเป็นพืชแซมยาง
                       2.
กำจัดวัชพืชและตัดแต่งกิ่งในสวนยางให้อากาศถ่ายเทสะดวก  เพื่อลดความชื้น
                       3.
หากระบาดกับต้นยางอายุน้อยกว่า  2  ปี  ป้องกันกำจัดโดยพ่นสารเคมี
                       4.
ต้นยางใหญ่ที่เป็นโรครุนแรงจนใบร่วงหมดต้น  ให้หยุดกรีดยางและบำรุงต้นให้สมบูรณ์
 
สารเคมี อัตราการใช้ วิธีการใช้
ชื่อสามัญ ชื่อการค้า %สารออกฤทธิ์
เมทาแลกซิล
(Metalaxyl)
เอพรอน
 
35% SD
 
40  กรัมต่อน้ำ  20  ลิตร ฉีดพ่นใบยางอ่อนเมื่อพบการระบาดทุก  7  วัน
ฟอสเอทธิล อลูมินั่ม
(fosetyl - Al)
อาลีเอท
 
80% WP
 

Posted by GU On 8:09 PM
โรคเส้นดำ (Black stripe)
 

สาเหตุ
              เกิดจากเชื้อรา  Phytophthora  botryosa  chee, P. palmivora (Butl.) Butl.
ลักษณะอาการ 
 เหนือรอยกรีดเป็นรอยช้ำ ต่อมาเป็นรอยบุ๋มสีดำหรือสีน้ำตาลดำตามแนวยาวของลำต้น  เมื่อเฉือนเปลือกบริเวณรอยบุ๋มสีดำ จะเห็นลายเส้นสีดำบนเนื้อไม้ 
                      และอาจลุกลามลงใต้รอยกรีด  ถ้าอาการรุนแรง  เปลือกบริเวณที่เป็นโรคปริเน่า  มีน้ำยางไหล  เปลือกเน่าหลุดออกมา  ถ้าเชื้อเข้าทำลายไม่รุนแรง 
                      เปลือกงอกใหม่จะเป็นปุ่มปม
การแพร่ระบาด
   เชื้อบนฝักและใบที่เป็นโรคถูกชะล้างโดยน้ำฝนลงมาที่หน้ากรีด  พบระบาดรุนแรงเมื่อกรีดยางติดต่อกันในฤดูฝนโดยไม่มี การป้องกันรักษาหน้ากรีด 
                      โดยเฉพาะเมื่อความชื้นสูงกว่า  90%  หน้ากรีดจะเปียกอยู่ตลอดเวลา  เหมาะต่อการขยายพันธุ์ของเชื้อ
พืชอาศัย
          เชื้อรา  P.palmivora  สามารถเข้าทำลายพืชอื่นได้หลายชนิด  เช่น  มะละกอ  แตงโม  ส้ม  ทุเรียน  พริกไทย  โกโก้  มะพร้าว  ยาสูบ  ส่วนเชื้อรา  P.botryosa 
                      สามารถเข้าทำลาย  ทุเรียน  ส้ม  และกล้วยไม้ได้
การป้องกัน
        1. ไม่ควรปลูกพืชอาศัยเป็นพืชแซมยาง
                      2.หลีกเลี่ยงการเปิดกรีดยางในฤดูฝน  ในพื้นที่ที่มีโรคระบาดรุนแรง
                      3.
ระยะที่มีโรคใบร่วงระบาดใช้สารเคมีป้องกันโรคที่หน้ากรีด
 
สารเคมี อัตราการใช้ วิธีการใช้
ชื่อสามัญ ชื่อการค้า %สารออกฤทธิ์
เมทาแลกซิล
(metalaxyl)
เอพรอน
 
35% SD
 
7-10 กรัมต่อน้ำ  1  ลิตร ทาพื้นที่หน้ากรีดหรือทาเหนือรอยกรีดภายใน  12  ชั่วโมง  หลังการกรีดยางทุกสัปดาห์
ฟอสเอทธิล  อลูมินั่ม
(fosetyl-Al)
อาลีเอท
 
80% WP
 
8-10 กรัมต่อน้ำ  1  ลิตร
                       4. ถ้าพบอาการที่หน้ากรีด  ต้องเฉือนส่วนที่เป็นโรคออกก่อนแล้วทาด้วยสารเคมี 
สารเคมี อัตราการใช้ วิธีการใช้
ชื่อสามัญ ชื่อการค้า %สารออกฤทธิ์
เมทาแลกซิล
(metalaxyl)
เอพรอน
 
35% SD
 
14 กรัมต่อน้ำ  1  ลิตร ผสมสารจับใบ  2  ซี.ซี. พ่นหรือทาหน้ากรีดยางทุก 
5-7
วัน  อย่างน้อย  4  ครั้ง
ฟอสเอทธิล  อลูมินั่ม
(fosetyl-Al)
อาลีเอท
 
80% WP
 
20-25 กรัมต่อน้ำ  1  ลิตร
ออกซาไดซิล+แมนโคเซบ
(oxadixyl+mancozeb)
แซนโดแฟน-เอ็ม 10+56% WP 40-60 กรัมต่อน้ำ  1  ลิตร

Posted by GU On 8:08 PM
โรคราสีชมพู (Pink disease)
 

สาเหตุ
                   เกิดจากเชื้อรา  Corticium  salmonicolor  Berk. & Br.
ลักษณะอาการ        เริ่มแรกเปลือกบริเวณคาคบ  กิ่งก้าน  ลำต้น  บริเวณที่ถูกทำลายจะเป็นรอยปริมีน้ำยางไหลติดอยู่ตามเปลือก  เมื่ออากาศชื้นจะเห็นเส้นใยสีขาวที่เปลือกยาง  แ
                           ผลจะขยายเป็นบริเวณกว้างออกไป  เมื่อเชื้อเจริญเต็มที่จะมองเห็นเป็นสีชมพู  ซึ่งเป็นระยะที่เชื้อเจริญเข้าไปในเปลือกและลุกลามไปยังลำต้น  ทำให้เปลือกแตก
                           และกะเทาะออก  น้ำยางไหลออกมาจับบตามกิ่งก้านและลำต้นเป็นทางเมื่อน้ำยางแห้งจะมีราดำเข้าจับเป็นทางสีดำ  ใต้บริเวณแผลจะมีการแตกกิ่งใหม่ขึ้นมากมาย
                          ใบยางเปลี่ยนเป็นสีเหลือง  เกิดอาการตายจากยอด  เมื่อสภาพแวดดล้อมไม่เหมาะสม  เชื้อราจะพักตัว  สีชมพูที่เคยปรากฏจะ  ซีดลงจนเป็นสีขาว 
                           เมื่อถึงฤดูฝนปีถัดไปจะเริ่มลุกลามต่อไป
การแพร่ระบาด
        ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศชุ่มชื้น  มีปริมาณน้ำฝนสูง  เมื่ออากาศแห้งเชื้อราจะพักตัวและเจริญลุกลามต่อในฤดูฝนปี ถัดไป  เชื้อแพร่กระจายโดยลมและฝน

พืชอาศัย
                กาแฟ  โกโก้  ชา  มะม่วง  ขนุน  ทุเรียน  เงาะ

การป้องกันกำจัด
      1. ตัดแต่งกิ่งก้านและกำจัดวัชพืชในสวนยางให้โล่งเตียน  เพื่อลดความชื้นและความรุนแรงของโรค
                            2. ไม่ควรปลูกพืชอาศัยเป็นพืชร่วมหรือพืชแซมยาง
                           
3. ต้นยางอายุน้อยถ้าเป็นโรครุนแรงถึงกิ่งแห้งตายและมีกิ่งใหม่งอกใต้รอยแผล  ควรตัดแต่งแห้งตายทิ้ง  โดยตัดให้ต่ำกว่า
                                รอยแผลประมาณ 
2-3  นิ้ว  แล้วทาด้วยสารเคมีเคลือบบาดแผล
                            
4. ต้นยางที่ยังไม่เปิดกรีด  เมื่อเป็นโรคแนะนำให้ใช้สารเคมีบอร์โดมิกซ์เจอร์ (bordeaux  mixture)  ที่มีอัตราส่วนผสมจุนสี
                                หนัก 
120  กรัม  ปูนขาวนัก  240  กรัม (ถ้าเป็นปูนเผาใหม่ใช้ประมาณ 150 กรัม)  ผสมน้ำ  10  ลิตรโดยผสมใหม่ๆ  ทา
                                บริเวณที่เป็นโรค  ไม่แนะนำให้ใช้กับต้นยางที่เปิดกรีดแล้ว  เนื่องจากสารทองแดงที่เป็นส่วนผสมของบอร์โดมิกซ์เจอร์
                                จะไหลลงไปผสมกับน้ำยางที่กรีดได้  ทำให้คุณภาพน้ำยางเสื่อมลง
                             
5. เมื่อตรวจพบต้นที่เป็นโรคให้ขูดเปลือกบริเวณเป็นแผลออกก่อนแล้วทาด้วยสารเคมี 
 
สารเคมี อัตราการใช้ วิธีการใช้
ชื่อสามัญ ชื่อการค้า % สารออกฤทธิ์
เบนโนมิล
(benomyl)
เอพรอน
 
50% WP
 
50-100 กรัมต่อน้ำ  1  ลิตร
 
ขูดเปลือกบริเวณรอยแผลออกแล้วทาสารเคมี

 
ไตรดีมอร์ฟ
(tridemorph)
คาลิกซิน
 
75% EC
 
60-120 กรัมต่อน้ำ  1  ลิตร
 

Posted by GU On 8:08 PM
โรคลำต้นเน่าของยางชำถุง (Twig rot of polybagrubber)
 

สาเหตุ
              เกิดจากเชื้อรา  Phytophthora  nicotianae  Van  Breda  de  Haan  var.  parasitica (Dastur)  Waterhouse,  P. palmivora (Butl.) Butl.
ลักษณะอาการ
   เชื้อราทำลายกิ่งแขนงที่แตกออกจากตาของยางพันธุ์ดี  เกิดรอยแผลสีน้ำตาลเข้มหรือดำช้ำเป็นรูปยาวรีไปตามความยาวของ ลำต้น  และขยายลุกลามไปรอบต้น 
                      ทำให้กิ่งแขนงเหี่ยวแห้งตาย
การแพร่ระบาด 
  ระบาดรุนแรงในช่วงที่ฝนตกชุกและมีความชื้นในอากาศสูง  แปลงเพาะชำยางชำถุงที่มีการจัดวางถุงซ้อนกันหลายแถว  หรือแปลงที่มีการให้น้ำด้วยสปริงเกล์อ 
                      จะเกิดการระบาดของโรคได้ง่าย
การป้องกันกำจัด
    1. ไม่ควรนำดินชำถุงหรือดินบริเวณที่เคยมีการระบาดของโรคมาใช้ซ้ำ
                          2. ปรับสภาพเรือนเพาะชำยางชำถุงไม่ให้แน่นทึบเกินไป  อากาศถ่ายเทได้สะดวก
                          3. ให้พบต้นยางเป็นโรคให้ตัดส่วนที่เป็นโรคออกหรือแยกออกจากปลงเพาะชำมาทำลาย
                          4. กรณีพบโรคระบาดใช้สารเคมีฉีดพ่นเพื่อช่วยควบคุมโรค
 
สารเคมี อัตราการใช้ วิธีการใช้
ชื่อสามัญ ชื่อการค้า % สารออกฤทธิ์
ไดเมโธมอร์ฟ
(dimethomorph)
ฟอรัม
 
50% WP
 
10 กรัมต่อน้ำ  20 ลิตร
 
ฉีดพ่นบนต้นยางชำถุงทุก  5-7  วัน



 
ไซมอกซานิล+แมนโคเซบ
(cymoxanil+mancozeb)
เคอร์เซท  เอ็ม
 
72% WP
 
40 กรัมต่อน้ำ 20  ลิตร
 
เมทาแลกซิล
(metalaxyl)
เมทาแลกซิล
 
25% WP
 
40 กรัมต่อน้ำ  20  ลิตร
 

Posted by GU On 8:07 PM
โรครากขาว (disease white root)
 

สาเหตุ 
               
เกิดจากเชื้อรา  Rigidoporus  lignosus  (Klotzsch)  lmazeki
ลักษณะอาการ
       เชื้อโรคสามารถเข้าทำลายต้นยางได้ทุกระยะการเจริญเติบโต  ตั้งแต่อายุ 
1  ปีขึ้นไป  เมื่อระบบรากถูทำลายจะแสดง
                          อาการให้เห็นที่ทรงพุ่ม  ซึ่งเป็นระยะที่รุนแรงและไม่สามารถรักษาได้  บริเวณรากที่ถูกเชื้อเข้าทำลายจะปรากฏเส้นใยราสี
                          ขาวเจริญแตกสาขาปกคลุม  เกาะติดแน่นกับผิวราก  เมื่อเส้นใยอายุมากขึ้นจะกลายเป็นเส้นกลมนูนสีเหลืองซีด  เนื้อไม้
                          ของรากที่เป็นโรคในระยะแรกจะแข็งกระด้างเป็นสีน้ำตาลซีดในระยะรุนแรงจะกลายเป็นสีครีม  ถ้าอยู่ในที่ชื้นแฉะจะอ่อน
                          นิ่ม  ดอกเห็ดมีลักษณะเป็นแผ่นครึ่งวงกลมแผ่นเดียวหรือซ้อนกันเป็นชั้นๆ  ผิวด้านบนเป็นสีเหลืองส้ม  โดยมีสีเข้มอ่อน
                          เรียงสลับกันเป็นวง  ผิวด้านล่างเป็นสีส้มแดงหรือสีน้ำตาล  ขอบดอกเห็ดเป็นสีขาว

การแพร่ระบาด
       ระบาดรวดเร็วในช่วงฤดูฝนซึ่งมีฝนตกชุก  ความชื้นสูง
พืชอาศัย
              ทุเรียน  ขนุน  จำปาดะ  มังคุด  มะพร้าว  ไผ่  ส้ม  โกโก้  ชา  กาแฟ  เนียงนก  พริกไทย  พริกขี้หนู  น้อยหน่า 
                         
 มันสำปะหลัง  สะเดาบ้าน  สะเดาเทียม  ทัง  มะเขือ  เปราะ  กระทกรก  มันเทศ  ลองกอง
Posted by GU On 8:07 PM
โรครากแดง (Red root disease)
 

สาเหตุ
                        เกิดจากเชื้อรา 
Ganoderma  pseudoferreum  (Wakef)  Over  &  Steinm
ลักษณะอาการของโรค
   มักพบการระบาดในสวนยางที่มีตอและรากไม้ใหญ่ๆ  ฝังลึกลงในดิน  เชื้อราเจริญเติบโตค่อนข้างช้า  จึงมักพบกับ
                                 ต้นยางที่กรีดแล้วเป็นส่วนใหญ่ต้นที่ถูกเชื้อเข้าทำลายจะแสดงอาการที่ทรงพุ่มเช่นเดียวกับโรครากขาว  ส่วนรากที่
                                 ถูกเชื้อเข้าทำลายจะถูกปกคลุมด้วยเส้นใยสีน้ำตาลแดง  ส่วนปลายของเชื้อราที่กำลังเจริญจะเป็นสีขาวครีม  ลักษณะ
                                 เส้นใยแก่จะจับกันเป็นแผ่นสีน้ำตาลแดงเป็นมันวาวเห็นได้ชัดเจนเมื่อล้างน้ำ  รากมีลักษณะขรุขระ  เนื่องจากมีก้อน
                                 ดิน หิน เกาะติดอยู่  เนื้อไม้ของรากเป็นสีน้ำตาลซีดและเป็นสีเนื้อในเวลาต่อมา  วงปีของเนื้อไม้จะหลุดแยกออกจาก
                                 กันได้ง่าย  ดอกเห็ดเป็นแผ่นแข็งด้านบนเป็นรอยย่นสีน้ำตาลแดงเข้ม  ด้านล่างเป็นสีขี้เถ้า  ขอบดอกเป็นสีขาวครีม

การแพร่ระบาด
       
      ระบาดรวดเร็วในช่วงที่ฝนตกชุก  ความชื้นสูง

พืชอาศัย
                   
 ทุเรียน  ขนุน  จำปาดะ  สัก  สะเดาบ้าน  ทัง  โกโก้  กาแฟ  ชา  เงาะ  พืชตระกูลถั่ว  ลองกอง  สะตอ
Posted by GU On 8:06 PM
โรครากน้ำตาล (Brown root disease)
 

สาเหตุ  
                 
      เกิดจากเชื้อรา  Phellinus  noxius  (Corner)  G.H. Cunn

ลักษณะอาการของโรค
   
 มักพบกับต้นยางที่หักโค่น  อาการสังเกตจากทรงพุ่มมีลักษณะเหมือนโรครากขาวและโรครากแดง  แยกชนิดโรค
                                   ได้จากบริเวณรากที่ถูกทำลาย  จะปรากฏเส้นใยสีน้ำตาลปนเหลือง  เป็นขุยเหมือนกำมะหยี่  ปกคลุมผิวรากและเกาะ
                                   ยึดดินทรายไว้  ทำให้รากมีลักษณะขรุขระ  เส้นใยเมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลดำ  เนื้อไม้ในระยะแรกจะเป็นสีน้ำตาลซีด
                                   ต่อมาเป็นสีน้ำตาลเป็นเส้นเดี่ยวลายสลับฟันปลาอยู่ในเนื้อไม้  รากที่เป็นโรคมานาน  เมื่อตัดตามขวางจะเห็นสายเส้น
                                   ใยที่แทรกในเนื้อไม้มีลักษณะคล้ายรวงผึ้ง  เนื้อไม้จะเบาและแห้ง  ดอกเห็ดเป็นแผ่นหนาแข็ง  ลักษณะครึ่งวงกลม
                                    ค่อนข้างเล็ก  ผิวด้านบนเป็นรอยย่นเป็นวงสีน้ำตาลเข้ม  ผิวด้านล่างเป็นสีเทา

การแพร่ระบาด
              
 ระบาดรวดเร็วในช่วงฤดูฝนซึ่งมีฝนตกชุก  ความชื้นสูง

พืชอาศัย
                       ทุเรียน  มังคุด  ลองกอง  สละ  สะเดาบ้าน  มะฮอกกานี  สัก  ปาล์มน้ำ  โกโก้  ส้ม  กาแฟ  เงาะ

การป้องกันกำจัดโรครากของยางพารา

1. เตรียมพื้นที่ปลูกให้ปลอดโรค  โดยการขุดทำลายตอยางเก่า  ซึ่งเป็นแหล่งสะสมโรคออกให้หมด
2. ในแหล่งที่มีโรคระบาด  หลังการเตรียมดินควรปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่วเพื่อปรับสภาพดิน
3. หลังปลูกยาง  1  ปี  ตรวจหาต้นที่เป็นโรคราก  เมื่อพบขุดทำลายเสียแล้วป้องกันโรคต้นข้างเคียงด้วยสารเคมี
4. ต้นยางที่เป็นโรคหากอายุมากกว่า  3  ปีขึ้นไป  ขุดคูรอบต้น (กว้าง  30  ซม.  ลึก  60  ซม.)  เพื่อป้องกันรากยางสัมผัสต้นที่เป็นโรค
5. ไม่ควรปลูกพืชร่วมหรือพืชแซมที่เป็นพืชอาศัยของเชื้อโรค
6. ใช้สารเคมีสำหรับรักษาต้นที่เป็นโรคเพียงเล็กน้อย  และใช้กับต้นข้างเคียงที่เป็นโรค

โรค สารเคมี อัตราการใช้ วิธีการใช้
ชื่อสามัญ ชื่อการค้า % สารออกฤทธิ์
รากขาว ไตรเดอร์มอร์ฟ
(tridemorph)
คาลิกซิน 75% EC 10-20 ซีซีต่อน้ำ
1-2 ลิตรต่อต้น
ขุดร่องเล็กๆ รอบโคนต้นกว้าง  15-20 ซม.  เทสารเคมีลงในร่องรอบโคนต้น  ใช้สารเคมีทุก  6  เดือน  เป็นเวลา  2  ปี
  ไซโปรโคนาโซล
(cyproconazole)
อัลโต 10% SL
  โปรปิโคนาโซล
(propiconazole)
ทิลท์ 25% EC 30 ซีซีต่อน้ำ
ลิตรต่อต้น
  เฮกซะโคนาโซล
(hexaconazole)
เอนวิล 5% EC 10-20 ซีซีต่อน้ำ
2 ลิตรต่อต้น
  เฟนิโคลนิล
(feniclonil)
เบเรต์ 40% FS 4-8 กรัมต่อน้ำ
3 ลิตรต่อต้น
โรครากแดง ไตรเดอร์มอร์ฟ
(tridemorph)
คาลิกซิน 75% EC 75  ซีซีต่อน้ำ
1-2 ลิตรต่อต้น
เทราดรอบโคนต้นเช่นเดียวกับโรครากขาว
  ไดฟิโนโคนาโซล
(difenoconazole)
สกอร์ 25% EC 30 ซีซีต่อน้ำ
3  ลิตรต่อต้น
เทราดรอบโคนต้นใช้ได้ผลดีกับต้นที่เป็นโรคเพียงเล็กน้อย
โรครากน้ำตาล ไตรเดอร์มอร์ฟ
(tridemorph)
คาลิกซิน 75% EC 75  ซีซีต่อน้ำ
1-2 ลิตรต่อต้น
เทราดรอบโคนต้นเช่นเดียวกับโรครากขาว