Sunday, November 4, 2012

Posted by GU On 2:23 AM
การจัดการวัชพืชใน สวนยางพารา

วัชพืชนับว่ามันเป็นปัญหาหนังในการปลูกยางพารา วัชพืชขึ้นเบียดเบียนต้นยางตั้งแต่ในแปลงเพาะชำต้นกล้าเพื่อติดตา แปลงกิ่งตา สำหรับการป้องกันและจำกัดวัชพืชเหล่านี้ต้องเริ่มตั้งแต่การ



เตรียมดิน เพราะว่าเจ้าวัชพืชเป็นตัวแก่งแย่งธาตุอาหาร น้ำ แสงสว่าง และยังเป็นอุปสรรคในการเข้าไปปฏิบัติต่ต้นยาง เช่น การเข้าไปกรีดยาง การใส่ปุ๋ย การกำจัดโรค แมลง และนอกจากนี้แล้ววัชพืชยังเป็นสาเหตุให้ ไฟไหม้สวนยาง ในช่วงหน้าแล้ง วิธีการกำจัดวัชพืชก็มีหลายวิธีดังนี้
วิธีที่1เลยคือการใช้แรงงานคนถากหรือตัดด้วยเครื่องตัดหญ้า 1-2 เดือนต่อครั้ง และทุกครั้งก่อนการใส่ปุ๋ยโดยใช้จอบถาก ขุด ทำลายวัชพืชส่วนที่อยู่เหนือดินและใต้ดินไม่ปล่อยให้วัชพืชขึ้นพันต้น ต้องกำจัดอย่างสม่ำเสมอไม่ปล่อยใว้แต่วิธีการนี้สิ้นเปลืองค่าแรง เวลา และยุ่งยากในการปฏิบัติ เหมาะกับยางปลูกใหม่อายุไม่ถึง 6 เดือนซึ่งช่วงนี้ไม่ควรใช้สารเคมีจำกัดวัชพืช
วิธีที่ 2 ใช้วัสดุคลุมดิน เพื่อป้องกันวัชพืชขึ้นเบียดเบียนต้นยางอ่อน คลุมรอบโคนต้นยางที่เริ่มปลูกใหม่ วัสดุคลุมดินที่หาได้ง่ายๆในท้องถิ่น เช่น ใบหญ้าคา ฟางข้าว ใบหญ้าแฝก ซากพืชตระกูลถั่ว หรือ กระดาษหนังสือพิมพ์ การคลุมดินนอกจากไม่ให้วัชพืชงอกแล้ว ยังช่วยรักษาความชื้นให้กับดินในช่วงหน้าแล้ง ดังนั้นการคลุมดินจึงจำเป็นมากในการปลูกยางที่เขตแห้งแล้งในภาคอีสาน นอกจากนี้แล้ววัสดุคลุมดินเมื่อย่อยสลายก็จะช่วยเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดินอีกด้วย
วิธีที่ 3 ใช้สารกำจัดวัชพืชในแถวยางยังมีความจำเป็น เนื่องจากหญ้าคาเป็นวัชพืชที่ร้ายแรงที่ต้องจำกัด ถ้าหากต้นยางมีหญ้าคาขึ้นรบกวนบริเวณโคนต้นยางพารา ต้นยางจะแคระแกร็นการควบคุมหญ้าคาในแถวยางด้วยสารกำจัดวัชพืชเป็นวิธีที่สะดวก
Posted by GU On 2:22 AM
การปลูกยางพาราให้ประสบผลสำเร็จสูงสุดนั้นจะต้องปฏิบัติดูแลสวนยางเป็นอย่างดีทุกระยะ ไม่ว่าจะช่วงเริ่มต้นที่ยางเล็กหรือยางใหญ่ที่กรีดเอาน้ำยางแล้ว โดยเฉพาะยางเล็กก่อนปลูกหรือหลังปลูก

 

ยางไปแล้ว ในระหว่างแถวยางที่ว่างควรจะปลูกพืชคลุมดินเพราะจะทำให้ต้นยางเจริญเติบโตได้ดีกว่า แต่เจ้าของสวนยางบางรายอาจมีความจำเป็นที่จะหารายได้มาจุนเจือครอบครัว เพราะผลผลิตจากต้นยางพารากต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปีครึ่ง ฉะนั้นในช่วง 3 ปีแรกที่ต้นยางยังเล็กอยู่ก็สามารถปลูกพืชต่างๆลงไปในระหว่างแถวยางพารา พืชที่ปลูกลงไปนั้นเรียกว่า พืชแซมยาง
ยางพาราเป็นพืชที่มีระยะการปลูกที่กว้างในสวนยางที่ ปลูกใหม่จึงมีพื้ชที่ว่างในระหว่างแถวให้วัชพืชขึ้นได้ประมาณสองในสามของ พื้นที่ปลูก อาจเป็นหลายพันตาราเมตรในปีแรกและค่อยๆลดลงเมื่อเกิดร่มเงาในสวนยาง การปลูกพืชแซมในระหว่างแถวยางจึงเป็นวิธีการควบคุมวัชพืชทางอ้อม นอกจากนี้พืชแซมยังช่วยเสริมรายได้ให้กับชาวสวนในช่วง 3 ปีแรกและยังเป็นการใช้พื้นที่สวนยางให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดด้วยการเพิ่มผล ผลิตต่อหน่วยพื้นที่ให้สูงขึ้น เหมาะกับพื้นที่ปลูกยางขนาดเล็ก 15-30 ไร่อีกทั้งปุ๋ยที่ใส่ให้พืชแซมยังเป็นประโยชน์ต่อต้นยางพาราอีกด้วย และเศษซากพืชหลังเก็บเกี่ยวผลิตยังช่วยคลุมดินไม่ให้วัชพืชงอกได้ระยะหนึ่ง ซากพืชเมื่อสลายตัวจะเป็นปุ๋ยบำรุงดินเป็นวิธีชะลอความเสื่อมโทรมของดินที่ ง่ายที่สุด
พืชแซมที่นำมาปลูกใหม่ระหว่างแถวยางควรปลูกตั้งแต่เริ่มปลูกยางใหม่ๆ จนยางอายุ 3 ปี แต่ไม่ควรเกิน 4 ปี พืชแซมควรเป็นพืชอายุสั้นๆ มีระบบรากตื้น เช่น พืชผัก พืช ไร ข้าว เป็นต้น ส่วนพืชที่มีลำต้นสูงใหญ่หรือมีหัวอยู่ใต้ดิน เช่น อ้อย มันสำปะหลัง และละหุ่ง ไม่ควรนำมาปลูกเป็นพืชแซม อีกอย่างหนึ่งคือถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์ที่ต่ำไม่ควรปลูกพืชแซม ควรที่จะปลูกพืชคลุมดินแทน การปลูกพืชแซมในระหว่างแถวยางในปีที่ 1 ปลูกให้ห่างจากโคนต้นยางข้างละ 1 เมตร ปีที่ 2-3 ปลูกให้ห่างจากโคนต้นยางข้างละ 1.5 เมตร
Posted by GU On 2:17 AM
การสร้างทรงพุ่มเป็นวิธีกระตุ้นให้ ต้นกล้ายางพารา แตกกิ่งเร็วกว่าปกติเพราะโดยทั่วไปแล้วต้นยางในปีแรกจะเติบโตด้านความสูงเป็นลำต้นกระโดงเดียวขึ้นไป หลังจากนั้นจึงแตกกิ่งด้านข้างแต่ก็ขึ้นอยู่กับ

ลักษณะพันธุ์



ยางด้วย การสร้างทรงพุ่ม มี 3 วิธี คือ
  1. วิธีสวมยอด เป็นวิธีสร้างทรงพุ่มที่เหมาะสมกับต้นยางที่มีความสูงประมาณ 2.5 เมตร เมื่อยอดอ่อนเจริญเติบโตเป็น ฉัตรอ่อน การสร้างทรงพุ่มโดยวิธีนี้ พบว่าเมื่อใบเป็นสีสนิมและใช้ยาง 2 เส้นรัดใบที่สวมยอดจะทำให้มีการแตกกิ่งมากที่สุด 75 เปอร์เซ็นต์
  2. วิธีรวบใบ การสร้างทรงพุ่มโดยวิธีนี้ใช้กับต้นยางที่มีความสูงประมาณ 2.5 เมตร ที่มีใบตั้งแต่เป็นเพสลาดไปจนถึงใบแก่ หรือแตกยอดอ่อน และยอดอ่อนมีฉัตรยอดสั้นกว่า 2 เซนติเมตร
  3. วิธีควั่น เป็นวิธีสร้างทรงพุ่มที่ใช้ในกรณีที่สร้างทรงพุ่มโดยวิธีสวมยอดหรือวิธีรวบ ใบไม่สำเร็จ ทำได้โดยปล่อยให้ต้นยางเหล่านั้นเจริญเติบโตไปจนกระทั่งลำต้นส่วนที่สูงจาก พื้นดิน 2.5 เมตรมีสีเขียวแก่ปนน้ำตาลเช่นเดียวกับกรณีแรก ตามปกติหลังจากการควั่นแล้ว 2 เดือนครึ่ง การควั่นบนส่วนของลำต้นที่มีเปลือกสีน้ำตาลจะมีผลสำเร็จสูงสุดถึง 90 เปอร์เซ็นต์
ข้อควรระวัง ในการสร้างทรงพุ่มทุกขั้นตอนไม่ควรโน้มต้นยางเพราะอาจทำให้ต้นยางหักหรือเปลือกปริ ซึ่งเป็นผลให้ตาแตกบริเวณลำต้นมาก จึงควรยืนปฏิบัติงานบนเกาอี้หรือบันได
Posted by GU On 2:16 AM
คุณภาพยางไทยในสายตาโลก

ปัจจุบันไทยเป็น 1 ในโลกเรื่องของคุณภาพยางและราคาของเราดีกว่า โดยยางแท่งของไทยก็ราคาสูงกว่าเพราะคุณภาพยางของเราดีกว่าขณะนี้ยางแผ่นรม ควันชั้น 3  ของไทยกลายเป็นตัวอย่างมาตรฐานในด้านคุณภาพ คือแผ่นบาง แห้งสนิท เพราะชาวสวนมีพัฒนาการมากขึ้นเรื่อยๆ

Posted by GU On 2:14 AM



พัทลุง - พ่อค้ายางท้องถิ่นกระอักเลือด โดนตลาด อสย.ทำราคาส่วนต่างถึง 8-9 บาท/กก. ชี้ส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าตลาดโตคอม ระบุขาใหญ่รอยางขึ้น 300 เยน เทออกทันที เป็นปัญหาราคายางร่วงระนาว
นายอำนวย พูนเนียม ประธานกลุ่มพัฒนาบ้านโล๊ะจังกระ ผู้รับซื้อน้ำยางและโรงรมยาง อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เปิดเผยว่า จากการหารือกับเจ้าของธุรกิจรับซื้อน้ำยางสด และโรงรมยางพาราในพื้นที่ จ.พัทลุง จ.นครศรีธรรมราช จ.ตรัง และ จ.สงขลา ถึงโครงการรักษาเสถียรภาพราคายางพาราของรัฐบาลประมาณ 15,000 ล้านบาท ที่สนับสนุนให้สถาบันเกษตรกรยางพารา สามารถกู้ยืมเพื่อมารับซื้อยางพาราจากเกษตรกร
แต่ปรากฏว่า มีผู้รับซื้อยางพารา และเจ้าของโรงรมยางพาราท้องถิ่นจำนวนมากที่จดทะเบียนเป็นกลุ่ม ตลอดจนที่ไม่ได้จดทะเบียน กลับไม่สามารถรับการสนับสนุนจากโครงการนี้ได้ ขณะนี้มีผลกระทบต่อผู้รับซื้อน้ำยางสด และโรงรมในท้องถิ่นในระยะเริ่มต้นแล้ว และมีแนวโน้มว่าจะส่งผลกระหนักในระยะใกล้นี้
“วันอาทิตย์นี้ (27 พ.ค.) จะมีการประชุมหารือกลุ่มผู้รับซื้อน้ำยางสด และเจ้าของโรงรมอีกครั้งที่ จ.พัทลุง โดยจะทำการเรียกร้องไปยังรัฐบาลในโครงการรักษาเสถียรภาพราคายางพารา จำนวน 15,000 ล้านบาท ให้มีความเสมอภาคกัน และผู้รับซื้อน้ำยางสดและโรงรมท้องถิ่น จะขอทำการขึ้นทะเบียนเพื่อเข้าสู่โครงการนี้ด้วย” นายอำนวย กล่าว
นายกาตีบีน เก็มเด็น เจ้าของรับซื้อน้ำยางสดและโรงรมบ้านทุ่งเหรียง เทศบาลตำบลควนเสาธง อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เปิดเผยว่า ขณะนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจรับซื้อน้ำยางสดและโรงรมได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีสถาบันเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานกองทุน สงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) รับซื้อยางพารา เพราะได้ราคาที่ดีกว่า เนื่องจากองค์การสวนยาง (อสย.) รับซื้อยางแผ่นดิบในราคา 111 บาท/กก. ยางรมควัน 115.44 บาท/กก. ในขณะที่พ่อค้าคนกลางรับซื้อ 105-107 บาท/กก.
“ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคือพ่อค้ารับซื้อน้ำยางสดและโรงรม ท้องถิ่นที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน กับชาวสวนยางพาราซึ่งเป็นประชากรส่วนมากของชาวสวนยางพาราของไทย ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อพ่อค้าขนาดใหญ่ หรือผู้ส่งออกแต่อย่างใด พื้นที่ใดมีสถาบันเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับ สกย.รับซื้อยางพารา ในพื้นที่ตรงนั้นพ่อค้าท้องถิ่นที่รับซื้อน้ำยางสดและโรงรมเตรียมที่จะรับผล กระทบหนักได้” นายกาติบีน กล่าว
และเปิดเผยอีกว่า ขณะนี้ กลุ่มพ่อค้าท้องถิ่นที่รับซื้อน้ำยาสดและโรงรมอยู่ในอัตราเสี่ยงที่สูงมาก โดยวันนี้ (25 พ.ค.) ราคาน้ำยางสด ลงมาอยู่ที่ 94 บาท/กก. แล้ว หากเกิดผิดพลาดครั้งนี้พ่อค้าท้องถิ่นจะต้องล้มลงเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ แหล่งข่าวจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ราคายางในตลาดโตคอม ญี่ปุ่น อยู่ที่ 111 บาท/กก. โดยในตลาดโตคอมขณะนี้ผู้ที่จะเข้าไปเกี่ยวกับเรื่องยางจะต้องมีความเชี่ยว ชาญ หาไม่แล้วจะได้รับผลกระทบหนัก และในระยะ 2-3 สัปดาห์ข้างหน้านี้ หวั่นวิตกว่าราคาจะอยู่ในทิศทางที่ตกลงมาอีก จะต้องรอบคอบระมัดระวัง
“ส่วนผู้ประกอบการที่เป็นพ่อค้าท้องถิ่นรับซื้อน้ำยางสด และทำโรงรมยาง พ่อค้าคนกลางจะต้องปรับราคาขึ้น ภาคเกษตรกรตรงนี้เป็นประชากรส่วนใหญ่ของชาวสวนยางพาราประมาณ 85 เปอร์เซ็นต์”
แหล่งข่าวยังกล่าวอีกว่า ทราบว่าขณะนี้ พ่อค้าส่งออกก็ยังไม่ได้นำยางส่งออก เพียงพยายามหาแรงหนุนให้ได้ถึง 300 เยน ก็จะทำการเทออก ขณะเดียวกัน ทาง อสย. ที่รับซื้อยางพาราจากสถาบันเกษตรกรก็จะต้องส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าไปดูแลในตลาด โตคอมด้วย เชื่อว่ายางพาราของ อสย.ก็จะมีกำไร