Monday, June 10, 2013

Posted by GU On 8:13 AM
การกำจัดวัชพืช  

การกำจัดวัชพืชทำได้ 3 วิธีคือ

1. ใช้จอบถากหรือแทรกเตอร์ไถ วิธีนี้เกษตรกรนิยมใช้มากแต่มีข้อเสียคือจะกระทบกระเทือนต่อราก ทำให้ต้นยางชะงักการเจริญเติบโต
2. ใช้วิธีปลูกพืชคลุมดิน โดยนำเมล็ดพืชคลุมดินแต่ละชนิดมาผสมกันแล้วนำไปปลูกโดยใช้เมล็ดพืชคลุมดินในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ปลูกยาง 1 ไร่ ยกเว้นในท้องที่แห้งแล้งใช้อัตรา 1.5 กิโลกรัมต่อไร่

อัตราการผสมเมล็ดพืชคลุมดิน

ภาคใต้และภาคตะวันออก
- คาโลโปโกเนียม 2 ส่วน เซนโตรซีม่า 2 ส่วน เพอราเรีย 1 ส่วน
-  คาโลโปโกเนียม 5 ส่วน เซนโตรซีม่า 4 ส่วน เพอราเรีย 1 ส่วน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
-  คาโลโปโกเนียม 1 ส่วน  เพอราเรีย 1 ส่วน
โดยก่อนปลูกควรนำเมล็ดพืชคลุมดินไปแช่ในน้ำอุ่น (น้ำร้อน 2 ส่วนผสมกับน้ำเย็น 1 ส่วน) ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วเทน้ำทิ้ง ปล่อยให้เมล็ดแห้งพอหมาด จากนั้นนำเมล็ดไปคลุกกับปุ๋ยร้อคฟอสเฟตในปริมาณที่เท่ากันโดยน้ำหนัก แล้วจึงนำไปปลูกได้
- วิธีการปลูกพืชคลุมดิน ให้ใช้จอบขุดดินเป็นร่องลึกประมาณ 2-3 นิ้ว ให้เป็นแถว 3 แถว โดยให้แถวริมที่อยู่ชิดแถวยางอยู่ห่างจากแถวยางข้างละ 2 เมตร ส่วนแถวกลางให้อยู่ระหว่างกลางของแถวริมทั้งสอง นำเมล็ดพืชคลุมดินโรยลงในร่องแล้วเกลี่ยดินกลบเมล็ด
การปลูกพืชคลุมดินนี้จะลงมือปลูกพืชคลุมดินก่อนหรือจะปลูกพร้อมๆกับปลูกยาง หรือหลังปลูกยางแล้วก็ได้ แต่เพื่อความสะดวกและง่ายต่อการกำจัดวัชพืชควรปลูกพืชคลุมดินหลังจากได้เตรียมดินวางแนวและกะ ระยะปลูกยาง เสร็จเรียบร้อยแล้ว
หลังจากปลูกพืชคลุมดินจนกระทั่งเมล็ดงอกเป็นต้นกล้าเล็กๆแล้ว ควรดูแลกำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอจนกระทั่งพืชคลุมดินเริ่มทอดเถาเลื้อยไปคลุมดินจึงใส่ปุ๋ยร้อคฟอสเฟต ในอัตรา 6 กิโลกรัมต่อไร่เพื่อบำรุงพืชคลุมดิน

3. การใช้สารเคมี เป็นวิธีที่ให้ผลดี ประหยัดแรงงาน และเวลา นิยมใช้กับต้นยางที่มีอยายุ 1 ปีขึ้นไป หรือต้นยางที่มีเปลือกบริเวณโคนต้นเป็นสีน้ำตาลสูงจากพื้นดินมากกว่า 75 เซนติเมตรไปแล้ว ส่วนต้นยางที่มีเปลือกบริเวณโคนต้นเป็นสีน้ำตาลสูงจากพื้นดินน้อยกว่า 75 เซนติเมตรไม่ควรใช้วิธีนี้

การใช้สารเคมีกำจัดพืชสำหรับยางอ่อน 
การปลูกยางโดยใช้ต้นตอตาหรือยางชำถุง จะใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในแถวยางได้อย่างปลอดภัยต่อเมื่อต้นยางมีเปลือกสีน้ำตาลที่บริเวณ โคนต้นสูงจากพื้นดิน 75 เซนติเมตร
สารเคมีที่ใช้ในสวนยางอ่อนมีอยู่หลายสูตร แต่จะแนะนำเฉพาะบางสูตรที่หาได้ง่ายเช่น
สูตรที่ 1 ใช้พาราควอท 80 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ ระวังอย่าให้สารเคมีถูกใบหรือส่วนที่เป็นสีเขียวของต้น สูตรนี้จะเหมาะกับต้นยางที่มีอายุตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป สามารถคุมวัชพืชได้นาน 3-5 สัปดาห์โดยหลังจากพ่นสารเคมีแล้วยภายใน 2-3 ชั่วโมง จะต้องไม่มีฝนตก การใช้สารเคมีจึงจะได้ผลสมบูรณ์
สูตรที่ 2 ใช้ดาลาพอน 800 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ ฉีดพ่น และหลังจากนั้นอีก 21 วัน ให้พ่นซ้ำด้วยพาราควอท 40 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ อีกครั้งหนึ่ง สูตรนี้เหมาะกับต้นยางที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป โดยส่วนใหญ่จะใช้กำจัดวัชพืชพวกใบเลี้ยงเดี่ยว
สูตรที่ 3 ใช้พาราควอท 60 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) และ 2,4-ดี  150 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ สุตรนี้จะเหมาะกับต้นยางที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่จะใช้กำจัดวัชพืชพวกใบเลี้ยงคู่ รวมทั้งพืชคลุมที่เลื้อยเข้าไปพันต้นยาง
สูตรที่ 4 ใช้ไกลโฟเสท 205 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ สามารถกำจัดวัชพืชได้หลายชนิดโดยไม่มีพิษตกค้างในดิน สามารถคุมวัชพืชได้นาน 2 เดือน สูตรนี้เหมาะกับต้นยางที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป โดยหลังจากพ่นสารเคมีแล้วภายใน 6 ชั่วโมง จะต้องไม่มีฝนตก การใช้สารเคมีจึงจะได้ผลสมบูรณ์

การใช้สารเคมีกำจัดพืชสำหรับสวนยางที่กรีดแล้ว 
ใช้พาราควอท 80 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ โดยใช้หัวฉีดสีเหลือง

การกำจัดหญ้าคา 
การใช้สารเคมีกำจัดหญ้าคานับว่าเป็นวิธีที่ประหยัดค่าใช้จ่ายและได้ผลดีกว่าวิธีอื่นๆ โดยมีสูตรการใช้สารเคมีให้เลือก 3 สูตรคือ
สูตรที่ 1 ใช้ดาราพอน 1.6 กิโลกรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ โดยใช้หัวฉีดสีแดง หลังจากฉีดพ่นแล้ว 21 วัน ให้ใช้ดาลาพอนในอัตราเดิมฉีดพ่นซ้ำอีกครั้ง จากนั้นประมาณ 3-4 เดือน หากมีหญ้าคางอกหรือหลงเหลืออยู่ ควรฉีดพ่นสารเคมีอีกครั้งในอัตราเดิม
สูตรที่ 2 ถ้าต้นยางมีอายุตั้งแต่ 2 ปี ลงมาและมีหญ้าคาขึ้นบริเวณโคนต้น ให้ฉีดพ่นด้วยด้วยดาลาพอน 1.6 กิโลกรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ หลังจากฉีดพ่นแล้ว 21 วัน ให้ใช้พาราควอท 80 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ เพื่อลดอันตรายของต้นยางอ่อนซึ่งอาจเกิดขึ้นจากดาลาพอน
สูตรที่ 3 ใช้ไกลโฟเสท 410 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ฉีดพ่นเพียงครั้งเดียว
ข้อสังเกต การกำจัดหญ้าคาควรฉีดพ่นสารเคมีในช่วงที่หญ้าคากำลังเจริญเติบโต (ต้นฤดูฝน) จะได้ผลดีที่สุด การกำจัดหญ้าคาด้วยไกลโฟเสทให้ผลดีกว่าดาลาพอน ซึ่งดาลาพอนต้องพ่นถึง 2 ครั้ง แต่เมื่อเปรียบเทียบทางด้านค่าใช้จ่ายแล้วการใช้ดาลาพอนจะประหยัดกว่า
หมายเหตุ : เนื้อสารบริสุทธิ์ หมายถึง ปริมาณสารออกฤทธิ์ซึ่งจะต้องปรากฏในฉลากที่ภาชนะบรรจุเป็นภาษาไทยตามพระราชบัญญัติวัตถุมีพิษ พ.ศ. 2510 มาตรา 21
Posted by GU On 8:11 AM
การเตรียมพื้นที่ปลูกยาง 

http://naist.cpe.ku.ac.th/~vasu/arda/wp-content/global_images/rubber1.jpg

ในพื้นที่ที่เป็นสวนยางเก่า ป่า หรือมีไม้ยืนต้นอื่นขึ้นอยู่จะต้องโค่นไม้เหล่านั้นเสียก่อน การโค่นจะใช้วิธีตัดต้นไม้ให้เหลือตอสูง 40-50 เซนติเมตร แล้วทำลายตอไม้เหล่านั้นให้ผุสลายในภายหลัง โดยใช้สารเคมีไทรโคลเปอร์ หรือการ์ลอน 4 (ชื่อการค้า) ในอัตรา 5 ซี.ซี. ผสมน้ำ 95 ซี.ซี. ต่อตอ โดยทาก่อนหรือหลังตัดต้นไม้ 1-7 วันก็ได้  หรือจะใช้รถแทรกเตอร์ไถต้นไม้ออกจากแปลงให้หมดก็ได้เช่นกัน 
หลังจากโค่นต้นยางเก่า หรือต้นไม้อื่นๆ แล้วต้องเก็บไม้ใหญ่ออก จากนั้นเก็บเศษไม้รวมเป็นกองๆ เรียงเป็นแนวตามพื้นที่ ตากให้แห้ง ทำแนวกันไฟแล้วเผา หลังจากเผาเสร็จควรเก็บปรนที่ยังไหม้ไม่หมดรวมกันเผาอีกครั้ง

การเตรียมหลุมปลูก 
หลุมปลูกยางโดยทั่วไปจะมีขนาดกว้าง x ยาวxลึก เท่ากับ 50 x 50 x 50 เซนติเมตร การขุดหลุมปลูกควรแยกดินบนและดินล่างไว้คนละส่วน ตากดินทิ้งไว้ 10-15 วัน จากนั้นย่อยดินบนให้ร่วนแล้วผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟต อัตรา 170 กรัมต่อหลุม

การปลูกซ่อม 
หลังจากปลูกแล้วอาจมีต้นยางบางต้นตายไปเนื่องจากอากาศแห้งแล้ง ถูกโรคและแมลงทำลาย หรือต้นที่ปลูกไม่สมบูรณ์ จำเป็นต้องปลูกซ่อม ซึ่งควรทำให้เสร็จภายในช่วงฤดูฝน 
ต้นพันธุ์ที่เหมาะสำหรับปลูกซ่อม คือ ยางชำถุง เพราะจำทำให้ต้นยางที่ปลูกในแปลงมีขนาดไล่เลี่ยกัน ส่วนต้นยางที่มีอายุเกิน 1 ปี ไปแล้วไม่ควรปลูกซ่อม เพราะจะถูกบังร่มไม่สามารถเจริญเติบโตทันต้นอื่นได้

Posted by GU On 8:08 AM
พันธุ์ยางที่แนะนำสำหรับเกษตรกรทั่วไป

http://www.stock2morrow.com/attachment.php?attachmentid=161299&d=1369308101
 
สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้ออกคำแนะนำพันธุ์ยางปี 2536 สำหรับเกษตรกรทั่วไปไว้ดังนี้  
พันธุ์ยางชั้น 1 ได้แก่ ยางพันธุ์ดีแนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยไม่จำกัดพื้นที่ปลูก  
พันธุ์ยางชั้น 2 ได้แก่ ยางพันธุ์ดี แนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยจำกัดพื้นที่ปลูก ปลูกได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของพื้นที่ปลูกยางที่ถือครองแต่ละพันธุ์ควรปลูกไม่น้อยกว่า 7 ไร่  
พันธุ์ยางชั้น 3 ได้แก่ ยางพันธุ์ดี แนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยกำจัดพื้นที่ปลูก ปลูกได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของพื้นที่ปลูกยางที่ถือครองแต่ละพันธุ์ควรปลูกไม่น้อยกว่า 7 ไร่   พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูกในแหล่งปลูกยางเดิม (ภาคใต้และภาคตะวันออก)  
พันธุ์ยางชั้น 1 BPM 24, สงขลา 36 2/, RRIM 600, GT 1, PR 255, PR 261  
พันธุ์ยางชั้น 2 PB 217, RRIC 110, RRIC 100, PB 260, PB 255, PB 235  
พันธุ์ยางชั้น 3 KRS 251, PR 305, PR 302, RRIC 101, BPM 1, RRIM 712, KRS 250, KRS 226, KRS 225, KRS 218, PB 311, RRIC 121 
พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูกในแหล่งปลูกยางใหม่ (ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) 
พันธุ์ยางชั้น 1 RRIM 600, GT 1, สงขลา 36, BPM 24, PR 255  
พันธุ์ยางชั้น 2 PB 235, PB 260
Posted by GU On 8:06 AM
ลักษณะส่วนต่างๆ ของยางพารา  
ยางพาราเป็นพืชยืนต้นขนาดใหญ่ มีอายุยืนยาวหลายสิบปีเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ ซึ่งมีส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้  
 
ราก - เป็นระบบรากแก้ว  
ลำต้น - กลมตรง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ  
1. เนื้อไม้ ยางพาราจัดเป็นไม้เนื้ออ่อน เนื้อไม้มีสีขาวปนเหลืองอยู่ด้านในกลางลำต้น  
2. เยื่อเจริญ เป็นเยื่อบางๆอยู่โดยรอบเนื้อไม้มีหน้าที่สร้างความเจริญเติบโตให้กับต้นยาง  
3. เปลือกไม้ เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากเยื่อเจริญออกมาด้านนอกสุด ช่วยป้องกันอันตรายที่จะมากระทบต้นยาง เปลือกของต้นยางนี้มีความสำคัญต่อเกษตรกรชาวสวนยางมาก เนื่องจากท่อน้ำยางจะอยู่ในส่วนนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเปลือกด้านในที่ติดอยู่เยื่อเจริญจะมีท่อน้ำยางอยู่มากที่สุด 


ใบ - เป็นใบประกอบโดยทั่วไป 1 ก้านใบจะมีใบย่อย 3 ใบ มีหน้าที่หลักในการปรุงอาหารหายใจและคายน้ำ ใบยางจะแตกออกมาเป็นชั้น ๆ เรียกว่า "ฉัตร" ระยะเวลาเริ่มแตกฉัตรจนถึงใบในฉัตรนั้นแก่เต็มที่จะใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน ยางจะผลัดใบในฤดูแล้งของทุกปี ยกเว้นยางต้นเล็กที่ยังไม่แตกกิ่งก้านสาขาหรือมีอายุไม่ถึง 3 ปี จะไม่ผลัดใบ 


ดอก - มีลักษณะเป็นช่อมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในช่อดอกเดียวกัน ดอกยางทำหน้าที่ผสมพันธุ์โดยการผสมแบบเปิด ดอกยางจะออกตามปลายกิ่งของยางหลังจากที่ต้นยางผลัดใบ 


ผล - มีลักษณะเป็นพูโดยปกติจะมี 3 พู ในแต่ละพูจะม่เมล็ดอยู่ภายใน ผลอ่อนมีสีเขียวผลแก่มีสีน้ำตาลและแข็ง  


เมล็ด - มีสีน้ำตาลลายขาวคล้ายสีของเมล็ดละหุ่ง ยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร หนักประมาณ 3-6 กรัม เมล็ดยางเมื่อหล่นใหม่ๆจะมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูงมาก แต่เปอร์เซ็นต์ ความงอกนั้นจะลดลงอย่างรวดเร็วในสภาพปกติเมล็ดยางจะรักษาความ งอกไว้ได้ประมาณ 20 วันเท่านั้น  


น้ำยาง - เป็นของเหลวสีขาวถึงขาวปนเหลืองขุ่นข้น อยู่ในท่อน้ำยางซึ่งเรียงตัวกันอยู่ในเปลือกของต้นยาง ในน้ำยางจะมีส่วนประกอบหลักที่สำคัญ 2 ส่วนคือส่วนที่เป็น "เนื้อยาง" และส่วนที่ "ไม่ใช่ยาง" ตามปกติในน้ำยางจะมีเนื้อยางแห้งประมาณ 25-45 เปอร์เซ็นต์ 

Saturday, February 9, 2013

Posted by GU On 8:12 PM
โรคราแป้ง (Powdery mildew)
 

สาเหตุ
                เกิดจากเชื้อรา
ลักษณะอาการ      ใบอ่อนร่วง ใบที่ไม่ร่วง แผ่นใบจะมีแผลขนาดไม่แน่นอนมีปุย เชื้อราสีขาวเทาปกคลุมอยู่ ต่อมาแผลจะเป็นรอยด่าง สีเหลืองซีดและกลายเป็นสีน้ำตาล
                          ดอกยางมีปุย เชื้อราปกคลุมก่อนที่จะดำ แล้วร่วง
การแพร่ระบาด       ระบาดมากในพื้นที่ที่สภาพแวดล้อมกลางวันร้อน กลางคืนเย็นและชื้น ตอนเช้ามีหมอก พบในช่วงที่ต้นยางผลิใบใหม่
การป้องกันกำจัด    ปลูกยางพันธุ์ต้านทานโรค หากระบาดฉีดพ่นด้วยสารเคมี
 
สารเคมี อัตราการใช้ วิธีการใช้
ชื่อสามัญ ชื่อการค้า %สารออกฤทธิ์
เบโนมิล
(benomyl)
เบนเลท
ฟันดาโซล
50% WP
50% WP
20 กรัมต่อ
น้ำ
20 ลิตร
พ่นบนใบยางอ่อนทุกสัปดาห์ในช่วงที่เริ่มพบโรค
คาร์เบนดาซิม
(carbendazim)
คาร์เบนดาซิม
 
50% WP
 
ซัลเฟอร์
(sulfur)
ซัลเฟอร์
 
80% WP
 
ไตรดีมอร์ฟ
(tridemorph)
คาลิกซิน
 
75% EC
 
10 ซี.ซี.ต่อ
น้ำ 
20  ลิตร
กำมะถันผง
 
กำมะถันผง
 
100%
 
1.5-4  กก.ต่อไร่ พ่นใบยางอ่อนในช่วงเช้าตรู่  เพื่อหลีกเลี่ยงลมและอาศัยประโยชน์จากน้ำค้าง

Posted by GU On 8:12 PM
โรคใบจุดนูน (Colletotrichum leaf spot)
 

สาเหตุ
                เกิดจากเชื้อรา  Colletotrichum  gloeosporiodes  (Penz.) Sacc.
ลักษณะอาการ 
   ใบอ่อนที่ถูกเชื้อเข้าทำลาย  ปลายใบจะบิดงอ  เหี่ยวเน่าดำและหลุดล่วง  ในระยะใบเพสลาด  ใบบางส่วนอาจบิดงอและ  พบจุดแผลสีน้ำตาล  ขอบแผลสีเหลือง 
                         ขนาดประมาณ 1-2  มม.  เมื่อใบมีอายุมากขึ้น  เนื้อตรงกลางแผลอาจทะลุเป็นรู  ถ้าระบาดรุนแรงอาจพบแผลบนกิ่งอ่อนหรือยอดอ่อน 
                         และทำให้เกิดอาการตายจากยอดได้
การแพร่ระบาด      ระบาดรุนแรงกับยางที่แตกใบอ่อน  ในช่วงที่ฝนตกชุก  ความชื้นสูง  เชื้อแพร่ระบาดโดยน้ำฝน  ลมและแมลง
พืชอาศัย             ส้ม  กล้วย  มะละกอ  ชา  กาแฟ  โกโก้  อาโวกาโด
การป้องกัน          ต้นยางที่มีอายุน้อยกว่า  2  ปี  ใช้สารเคมีพ่นบนใบยางเมื่อเริ่มพบการระบาด
 
สารเคมี อัตราการใช้ วิธีการใช้
ชื่อสามัญ ชื่อการค้า %สารออกฤทธิ์
ไซเนบ
(Zineb)
ไซเนบ
 
80% WP
 
40  กรัมต่อน้ำ  20  ลิตร ฉีดพ่นใบยางอ่อน
ทุก  5  วัน
ประมาณ  5-6  ครั้ง
คลอโรธาโลนิล
(chlorothalonil)
ดาโคนิล
 
75% WP
 
เบโนมิล
(benomyl)
เบนเลท
 
50% WP
 
โพรพิเนบ
(propinep)
แอนทราโคล
 
75% WP
 

Posted by GU On 8:11 PM
โรคใบจุดก้างปลา (Corynespora leaf )
 

สาเหตุ
                เกิดจากเชื้อรา  Corynespora  cassiicola (Burk. & Curt.) Wei.
ลักษณะอาการ 
   ใบอ่อนแสดงอาการเป็นแผลจุดกลม  ขอบแผลสีน้ำตาลดำ  กลางแผลสีซีดหรือเทา  ถ้ารุนแรงใบจะบิดงอและร่วง  ระยะใบ  เพสลาดแผลจะกลมทึบสีน้ำตาลหรือดำ 
                        ขอบแผลสีเหลืองและขยายลุกลามเข้าไปตามเส้นใบ  ทำให้แผลมีลักษณะคล้ายก้างปลา  เนื้อเยื่อบริเวณรอยแผลมีสีเหลืองถึงน้ำตาลและใบร่วงในที่สุด 
                        ถ้าเชื้อเข้าทำลายส่วนของก้านใบ  กิ่งแขนงและลำต้นที่ เป็นสีเขียว  จะเป็นแผลสีดำมีลักษณะยาวรี  เนื้อเยื่อตรงกลางแผลบุ๋มลง  ถ้าอากาศเหมาะสมจะขยายขนาดและ
                        ลุกลาม  ทำให้กิ่งหรือยอดที่เป็นโรคแห้งตาย
การแพร่ระบาด
     เชื้อราแพร่ระบาดโดยลมและฝน  โรคระบาดรุนแรงในสภาพอากาศร้อนและมีความชื้นสูง
พืชอาศัย
            มีมากกว่า  80  ชนิด  ยกตัวอย่างเช่น  งา  ถั่วเหลือง  ถั่วเขียว  ฝ้าย  ยาสูบ  มะละกอ  แตงโม  มะเขือเทศ  ผักกาดหอม  สะระแหน่  ฟักเขียว  หญ้ายาง 
                        และพืชคลุมตระกูลถั่ว
การป้องกันกำจัด
  1. ไม่ควรปลูกพืชอาศัยของเชื้อราเป็นพืชแซมยาง
                        2. ต้นยางที่มีอายุน้อยกว่า  2  ปี  ใช้สารเคมีพ่นพุ่มใบเมื่อเริ่มพบอาการของโรค
 
สารเคมี อัตราการใช้ วิธีการใช้
ชื่อสามัญ ชื่อการค้า %สารออกฤทธิ์
ไตรดีมอร์ฟ
(tridemorph)
คาลิกซิน
 
75% EC
 
10 ซี.ซี.ต่อน้ำ  20  ลิตร ฉีดพ่นพุ่มใบยางอ่อน
ทุก  7  วัน
เบโนมิล
(benomyl)
เบนเลท
 
50% WP
 
40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร